Saturday, 23 May 2009

สามกษัตริย์ประวัติศาสตร์เกาหลี โดย Amornbyj



สามกษัตริย์ประวัติศาสตร์เกาหลี

จาก บท ละคร ที่ มา on air ในบ้านเรา

1.กษัตริย์ Dongmyeongseong หรือ Go Jumong หรือ Ko Chumong ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์ โคคุเรียว ครองราชย์ ในปี 37 ก่อนคริสตศักราช ถึง 19 ปี ก่อน คริสตศักราช รวม 18 ปี แสดง โดย ซง อิลกุ๊ก

2. กษัตริย์ Gwanggaeto the Great หรือ Go Damdeok ( Ko Tamdok) กษัตริย์ องค์ ที่ 19 แห่งราชวงศ์ โคคุเรียว ครองราชย์ ในปี ค.ศ. 391- ค. ศ . 413 รวม 22 ปี แสดง โดย เบ ยองจุน

3. กษัตริย์ Jeongio หรือ Yi-san กษัตริย์ องค์ ที่ 22 แห่งราชวงศ์ โซซอน ครองราชย์ ใน ปี ค.ศ. 1776-1800 รวม 24 ปี แสดง โดย ลี ซอจิน




ทั้งสาม นักแสดง ได้รับรางวัล จาก MBC DRAMAAWARDS ดังนี้


ซง อิลกุ๊ก DAESANG ในปี 2006


เบ ยองจุน DAESANG .ในปี 2007


ลี ซอจิน TOP EXCELLENCE .ในปี 2007

ละคร ทั้ง 3 เรื่อง เป็น ของ สถานีโทรทัศน์ MBC โดยมีลำดับการ on air ที่ ประเทศเกาหลี ดังนี้

1.จูมง

ออกอากาศ วัน จันทร์ และอังคาร ตั้งแต่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ถึง 6 มีนาคม 2550 มี 81 ตอน
และมาออกอากาศที่บ้านเราเร็วมาก คือ 28 เมษายน 2550 - 22 ธันวาคม 2550

2.The legend

ออกอากาศ ที่ประเทศเกาหลี วัน พุธ และพฤหัสบดี 11 กันยายน 2550- 5 ธันวาคม 2550
มี 24 ตอนและมาออกอากาศที่บ้านเรา เมื่อ 19 เมษายน 2551

3.ลีซาน

ออกอากาศที่เกาหลี วัน จันทร์ และ อังคาร ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2550- 16 มิถุนายน 2551 มี 77 ตอน และออกอากาศที่บ้านเรา ตั้งแต่ 20 ธันวาคม 2551 จนปัจจุบัน

ทั้งสามเรื่องนี้ ดิฉัน ไม่ได้ ดู จาก สถานีโทรทัศน์ บ้านเราเลย โดย เฉพาะ the legend ดู จาก real time พร้อมแฟนคลับ คุณ เบ ยองจุนที่เกาหลี แล้ว มาตาม ดู จากแผ่น ที่ผู้มีอุปการคุณ กรุณาอภินันทนาการ แปล ซับไทเทิล ไทย ลงแผ่นมาให้ หลัง การ ออกอากาศในขณะนั้น 2-3 วัน ของแต่ละตอน ส่วน จูมง ก็ ดู ไล่หลัง กับ the legend แต่เพราะใจจดจ่อ กับ the legend ก็ทำให้ ดู ไม่ละเอียด และ ลีซาน ก็ ดู ได้แค่ตอน ที่ 54 เมื่อ ประมาณ กลางปี 2551 ครั้นจะมาย้อนดูใหม่ คงไม่ทันการณ์ กับการบ้าน ของ คุณ ร้อยตะวัน ต้องขออภัย ที่ ส่งการบ้าน จาก ความทรงจำ ที่เลือนรางไปเสียแล้ว ด้วย กาลเวลา และ ดีกรี อายุ ระดับ ส.ว. ของ ดิฉันเอง



ความเห็นของดิฉัน ตามความรู้สึก ที่ได้ ดู ละคร ประวัติศาสตร์ ของ กษัตริย์ ทั้ง 3 พระองค์ นี้ ขอเริ่มจาก

1.เป้าหมาย

ของ กษัตริย์ แต่ละพระองค์ ที่ ทรง ปฏิบัติพระราชกิจ แตกต่างกันทั้ง 3 พระองค์

กษัตริย์ จูมง

ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โคคุเรียว

ทรงต้องการสถาปนา อาณาจักรใหม่ เพื่อกอบกู้ดินแดนอันยิ่งใหญ่ ของโคโซซอน ที่ล่มสลายไป และกลาย เป็น หลายๆ อาณาจักร และมี อาณาจักรใหญ่ ในขณะนั้น คือ พูยอ เป็นต้น แน่นอนว่าพูยอ ย่อมต้องขัดขวาง เพราะเกรง ชาติพูยอ จะสูญสิ้นไปด้วย มีพระทัยแน่วแน่ ที่จะขับไล่อิทธิพล ของ จีน ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น ทรงต้องการให้คาบสมุทรเกาหลีพ้นจากภาวะ เป็นเมืองขึ้นของฮั่น
ก่อนสถาปนา อาณาจักร โคคุเรียว และเป็น ปฐมกษัตริย์แล้ว ทรงมีแต่การสงคราม
สงครามเพื่อ การรวม อาณาจักร สร้างชาติใหม่ สงครามเพื่อขับไล่อิทธิพล ฮั่น ดังนั้น การรบจะมีทั้งบุกไปขับไล่และตั้งรับ ไม่ทรงมีเวลาในการจัดระเบียบการปกครองภายในอาณาจักร การสร้างอาณาจักรใหม่ส่วนหนึ่ง มาจากการรวมชาติ ที่ใช้สันติวิธี หาแนวร่วมขับไล่ฮั่น บรรดาแคว้นใหญ่น้อยที่เข้าร่วม เป็นเสมือนเครือญาติมีแคว้นใหญ่ 5 แคว้น แต่ละแคว้นมีกองกำลังของตนเอง กษัตริย์ ไม่ได้มีอำนาจ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เป็นการใช้ระบบความร่วมมือ

กษัตริย์กวางแกโต

กษัตริย์ องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์ โคคุเรียว

ทรงมีเป้าหมาย ขยายดินแดน ละคร จะสื่อ ว่า ทรงต้องการรวบรวม แผ่นดินที่กระจัดกระจาย เมื่อตอน โคโซซอน ล่มสลาย (ในละคร คือ แผ่นดินจูชิน ) ขอใช้คำว่า แผ่แสนยานุภาพ ให้อาณาจักรเกรียงไกรหลังจากทรงปราบปราม อาณาจักร บ้านพี่เมืองน้องที่กลายเป็นศัตรู คือ แพคเจ ที่เคยบุกรุกเข้ามาที่โคคุเรียวและฆ่า กษัตริย์ โคคุเรียว ทรงผูกไมตรีกับ ชิลลา ดินแดนโคคุเรียวของพระองค์ยิ่งใหญ่ไพศาล ทั้งยังทรงมีเวลาที่จะปรับปรุงการปกครอง ภายในประเทศ หลายด้าน


ช่วงเวลา ประวัติศาสตร์ ของ กษัตริย์ จูมง และ กษัตริย์ กวางแกโต ในขณะนั้น เราชาวไทย คงจะอยู่ แถบเทือกเขาอัลไตกัน กัน ใน ค.ศ . 413

สำหรับไทยเรา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงก่อตั้งกรุงสุโขทัยในปี ค.ศ. 1249 (พ.ศ. 1792 ) จนอาณาจักรโคคุเรียว ล่มสลาย ใน ค.ศ. 668 เรา ก็ยังอยู่ไหนกันไม่รู้

ชนชาติ ที่น่ากล่าวถึง คือฮั่น
ฮั่น เป็นราชวงศ์ ของจีน ระหว่างปี พ.ศ.337-763 ( 763 คือ ค.ศ 220 )
หลังจาก พ.ศ. 763 จนถึง พ.ศ.969 ( ค.ศ. 426) ตรง กับ ปลายยุค ของ กษัตริย์ กวางแกโต ต่อด้วย กษัตริย์ จางซู พระโอรส )
ราชวงศ์ของจีนยังนับเป็นราชวงศ์ฮั่น
หลังจาก ปลายราชวงศ์ฮั่นสมัย ของจักรพรรดิ เลนเต้ ราชวงศ์ฮั่น สับสน วุ่นวาย และเข้าสู่ ยุค สามอาณาจักรหรือ สามก๊ก นั่นเอง เป็นช่วง ที่ราชวงศ์ ฮั่น ไม่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ เกาหลี รุ่งเรือง เกรียงไกรมาก
จากราชวงศ์ ฮั่น ที่เข้มแข็งเกรียงไกรจะมีราชวงศ์ จิ้น แทรก ต่อด้วยราชวงศ์ สุย และใน ค.ศ. 618 ก็เป็นการเริ่มต้น ของราชวงศ์ ถัง โดย หลี่หยวน หรือพระเจ้า ถังเกาจู และ ใน ค.ศ. 668 โคคุเรียว ก็ล่มสลาย ต้องส่ง เครื่องราชบรรณาการในฐานะ เมืองขึ้น ให้กับราชวงศ์ ถัง


กษัตริย์ จองโจ


กษัตริย์ องค์ที่ 22 แห่งราชวงศ์ โซซอน (ค.ศ. 1776-1800 )( พ.ศ .2319-2343 )

กรุงศรีอยุธยา ล่มสลาย ในปี 2310 ( ค.ศ. 1767)
ต่อ ด้วย กรุงธนบุรี ค.ศ.1767-1782
กรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1(ปี ค.ศ.1782-1809)

แผ่นดินสมัยของ กษัตริย์ จองโจ ตรงกับปลายช่วง กรุงธนบุรี และต่อ กับรัชกาลที่ 1 แห่ง ราชวงศ์ จักรี ในไทย ยุ่งเหยิงวุ่นวาย กับการ กู้อิสรภาพ จากพม่า ตั้ง ราชธานีใหม่ 2 ราชธานี มี 2 ราชวงศ์ และ ทำสงคราม กับพม่า ลาว ญวน อย่างต่อเนื่อง

จากละคร Yi-San ที่พอจำได้


กษัตริย์ จองโจ ตั้งพระทัยมั่น ในการสานต่อ การปฎิรูป บ้านเมือง ต่อจากพระอัยกา กษัตริย์ยองโจ

ทรงสนพระทัยในความเป็นอยู่ของราษฎร สนพระทัยในการหาความรู้ ของชาวตะวันตก

เพราะบ้านเมืองสงบ ไม่มีสงครามภายนอก ก็เลย มีเวลา แย่งชิง อำนาจ ภายในกันเอง ระหว่างเชื้อพระวงศ์ ด้วยกัน ระหว่าง ขุนนางและขุนนาง ด้วยกัน ที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโชรน และ โนนน รวมทั้งพระเจ้าจองโจเอง ที่ต้องชิงอำนาจการปกครอง จากเหล่าขุนนางเอง


ทั้งสามกษัตริย์ ของเกาหลี กษัตริย์ จองโจ จึงมี พระราชกิจ ที่แตกต่าง กับ กษัตริย์ จูมง กษัตริย์กวางแกโต และเป็น ยุค ที่ทันสมัย ใน ศตวรรษ ที่ 18 แล้ว เริ่มรับอารยะธรรมชาวตะวันตก รวมทั้งศาสนาคริสต์ เข้ามาอาณาจักรโซซอน



ดังนั้น ทั้งสามนักแสดง ที่รับบท สามกษัตริย์ ก็ มีความแตกต่างบ้าง ละม้ายคล้ายกันบ้างในบางเรื่อง ที่บทละคร พาไป ลองนึก ดูว่า หาก ให้

ซง อิลกุ๊ก รับบท ทัมด๊ก หรือ ลีซาน
เบ ยองจุน รับ บท จูมง หรือ ลีซาน
ลี ซอจิน รับ บท จูมง หรือ ทัมด๊ก

แล้วละคร จะออกมา ยังไง น่าจะดู แปลกๆ มากกว่าดี เพราะ ระดับ ผู้ กำกับ ได้ ไตร่ตรองมาอย่างดี สำหรับการคัดเลือกนักแสดง ที่เข้ากับบทบาทกับกษัตริย์ แต่ละพระองค์


โดย เฉพาะ ทัมด๊ก บทบาทจริยาวัตร ขององค์ชาย ทัมด๊ก เหมือน เอา เบ ยองจุน เป็นตัวตั้ง แล้วเขียนบทละคร ไปตาม คาแรคเตอร์ ของ ยงจุน เสียมากกว่า


2..สิ่งที่คล้ายคลึงกัน ของ สามกษัตริย์ น่าจะเป็น พระชนม์ชีพ ในขณะ เยาว์ชันษา คือ มีความกดดันจากรอบๆ พระองค์ แม้จะต่างสถานการณ์ กัน


องค์ชายจูมง


ในฐานะ พระโอรสจากพระสนม ยูฮวา ของพระเจ้ากึมวา แม้พระบิดา ( พระบิดาเลี้ยง จะรักใคร่ แต่ เป็นที่ อิจฉา ริษยา จาก พระมเหสี และ องค์ ชาย องค์ อื่นๆ) จูมง ถุก กลั่นแกล้ง เสมอ สถานะองค์ชายของ จูมง ครึ่งๆกลางๆ คล้ายเด็กๆ ทั่วไป ผสมกับชีวิต องค์ชาย การศึกษาด้าน วิชาการต่อสู้ ที่ได้ความรู้จริงจังมา ต้องไปเรียน กับแฮมูซู บิดาที่แท้จริงโดยต่างไม่รู้จักกันว่าเป็นพ่อ-ลูก การศึกษา ด้าน วิทยาการความรู้ อื่นๆ ในฐานะ องค์ชาย แทบไม่มี องค์ชายจูมง จะใกล้ชิดพระมารดามาก ได้รับรู้ ถึงความรักของพระมารดามากกว่าองค์ชาย ทัมด๊ก และองค์ชาย ลีซาน


องค์ชาย จูมง ดูขาดความเชื่อมั่น ไม่เฉลียวฉลาด และน่าจะได้ความรู้สึกอ่อนโยน ละเอียดอ่อนในดวงหทัยติดมา จากพระสนม ยูฮวา แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่
องค์ชายจูมง ต้องลองถูก ลองผิด ถึงขั้นล้มลุกคลุกคลานอยู่บ่อยครั้ง แต่ทรงมีฝีมือทางการต่อสู้ เป็นพรสวรรค์ โดยเฉพาะการใช้ธนู และพระทัย ที่แข็งแกร่งไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรค ตั้งมั่น ดั้นด้นค้นหา หนทางไปสู่ ความสำเร็จ บ้าบิ่น กล้าเสี่ยง จนไม่กลัวตาย ( ในตอนที่ยอมไปหาหัวหน้า โชลบน ที่มาแย่งตำแหน่งไปจากซอซอนโน เพื่อเกลี้ยกล่อมให้ มาร่วมต่อต้านฮั่น การแสดงความจริงใจ อย่างองค์ชาย จูมง น่ากลัวมาก)


การตั้ง อาณาจักร โคคุเรียว มีแนวร่วม ของ คนดี มีฝีมือ มี ปณิธานร่วมเพื่อ ขับไล่ฮั่น ตั้งอาณาจักรใหม่ เป็น แรงจูงใจ ให้ มีคนมาภักดี มากมาย จนตั้งเป็นกองกำลังได้ เป็นกองกำลังที่มีจุดมุ่งหมายอันสูงส่ง มิใช่ ด้วย ค่าจ้าง


แต่ ปัจจัยแค่นี้ไม่เพียงพอกับความสำเร็จ มีบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วย องค์ชาย จูมง ให้ บรรลุเป้าหมาย คือ ซอซอนโน และบิดา ซอซอนโนคือ ยอนทาบัล ซึ่งมีทั้งกำลังทรัพย์ และสติปัญญา



องค์ชาย ทัมด๊ก

ตั้งแต่ ประสูติ จน 11 ชันษา ทรงอยู่นอกวังกับพระบิดา
เมื่อ เข้าวัง และพระบิดา ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็อยู่ในฐานะองค์ชาย รัชทายาท แต่ก็มีความกดดัน ในการที่ต้องเสแสร้งเป็นรัชทายาท ที่ อ่อนแอ ไม่สนพระทัย การ เรียน การเมือง การปกครอง การเรียนรู้ วิทยาการต่างๆ แล้วต้องแอบศึกษาและฝึกหัด อย่างจริงจัง เข้มงวด โดย มี พระอาจารย์พิเศษด้านต่างๆ ต่างหาก ต้องปิดบัง อัจฉริยะส่วนพระองค์ ว่ามีความชื่อมั่น ในพระองค์เอง เฉลียวฉลาด มีความสามารถในเชิงต่อสู้ มีชีวิตส่วนพระองค์ ที่ต้องเก็บพระองค์ เงียบเหงา ว้าเหว่ ไม่มีเพื่อนๆในวังทั้งที่ จริงๆ เป็น เด็กซุกซน ขี้เล่น จนต้อง ปีนรั้ววังออกไปใช้ชีวิต เด็ก ธรรมดา ในตลาด มาตลอด
เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ ทัมด๊ก จึงเป็นกษัตริย์ ที่ใกล้ชิด กับ แม่ทัพ นายกอง ไปจนถึงทหารชั้นผู้น้อยของพระองค์


ทัมด๊ก ไม่มีพระมารดา แต่ ก็ ใกล้ชิดสนิท สนม กับพระบิดา และ มีอาจารย์ ที่ใกล้ชิดและรักองค์ชายมาก คือ ขุนพล โกอูชง


ทัมด๊ก เป็นองค์ชาย ที่อ่อนโยน เพราะการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด จากพระบิดาที่เป็นองค์ชายนอกวัง ใช้ชีวิตแบบสามัญชนมาถึง 11 ปี เป็นพระบิดาที่เสียสละทุกอย่าง เพื่อการขึ้นเป็นกษัตริย์ของทัมด๊ก พระบิดาแม้เป็นกษัตริย์ แต่ไม่ทรงมีอำนาจกษัตริย์ที่แท้จริง มีกำลังทหารเพียงทหารราชองครักษ์ ของขุนพล โกอูชง

ทัมด๊ก เฉลียวฉลาดมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สถานการณ์ ที่มีเหตุผล และลึกซึ้งฉายชัด


ทัมด๊ก เป็น องค์ชาย ที่มีความเชื่อมั่น ในพระองค์เอง สูงมาก ตั้งแต่เยาว์ชันษา

ทัมด๊ก เป็น นักเจรจาต่อรองชั้นเยี่ยม ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่าย ต่างพึงพอใจในข้อเสนอที่ยื่น ผลประโยชน์ที่ต่างได้รับ ต่างฝ่ายต่างได้ทั้งสองฝ่าย เป็นนักวางแผนนกลยุทธ์



องค์ชาย ลีซาน

มีพระชนม์ชีพ ของการเป็นองค์ชายที่ กดดัน เสี่ยงกับ พระพิโรธของพระอัยกาถึงขั้นประหารชีวิต บ่อยครั้ง สถานะของการเป็นองค์ชายรัชทายาท ไม่มั่นคง การศึกษาวิชาความรู้ของการเป็นกษัตริย์ในอนาคต ทรงได้รับอย่างเต็มที่ แต่บททดสอบจะรุนแรงบ่อยครั้งจากพระอัยกา หากจะเทียบ ชีวิตในขณะเยาว์ชันษาแล้ว องค์ชาย ลีซาน อยู่ ปากเหว ที่มีคนคอยจ้องผลักให้ ตกเหว ตลอดเวลา เป็น องค์ชายที่โดดเดี่ยว แทบไม่ได้รับความรัก ความใกล้ชิด จาก ทั้งพระอัยกา และพระมารดา ทั้งที่แท้จริงแล้ว ทรงเป็นที่รักของทั้งสองพระองค์

ละคร จะสื่อ ความรักความเอ็นดู ความใกล้ชิดสนิทสนมของพระบิดา องค์รัชทายาท ชาโด แต่ เมื่อสิ้นพระบิดา องค์ ชาย ลีซาน เหมือน ถูกทิ้งให้ดำเนินชีวิตของพระองค์ เดียวดายมาก และแน่นอนว่า ไม่ทรงมีเพื่อนเล่น เป็นองค์ชาย ที่เครียด กับการเป็นองค์ชายรัชทายาท ที่สุด


เมื่อลีซาน ขึ้นเป็นกษัตริย์ ในขณะ ที่พระอัยกา ยังมีพระชนม์อยู่ ก็ ยังคงเป็น กษัตริย์ ที่มีแรงกดดัน ภายใต้พระอัยกา เมื่อสิ้นพระอัยกา ก็ มีแรงกดดัน จาก เหล่าขุนนาง



ทั้งสามพระองค์เมื่อ ขึ้นเป็นกษัตริย์


ทุกพระองค์ ก็ ตั้งมั่น ที่จะปฏิบัติ พระราชกิจ ที่ตั้งพระทัยไว้ และทุกพระองค์ ก็ บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งพระทัยไว้
บทบาท การเป็นกษัตริย์ ก็ เป็น สิ่งที่สะสมไว้ ใน ขณะ เยาว์ชันษา


แต่ที่ทั้งสามพระองค์ มีเหมือนกัน คือ บุญญาภินิหาร(บุญที่สำเร็จได้ตามความปรารถนา) รวมกับ บุญญานุภาพ ( อำนาจแห่งบุญ)
องค์ชาย จูมง และองค์ชาย ลีซาน ทรงรอดพ้น สถานการณ์ที่ถึงขั้นต้องสิ้นพระชนม์ จนต้องใช้คำว่า ยังกับเรื่องนิยาย หลายครั้งหลายหน นั่นก็ เพราะ บุญ รักษา เพื่อให้พระองค์จะต้องได้เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ในกาลข้างหน้า นั่นเอง ส่วน องค์ชาย ทัมดั๊ก ละคร สื่อ ไว้แล้ว ว่า ทรงเป็น เทพ อวตารลงมา

รักของกษัตริย์ สามพระองค์ จะ มี รักของ กษัตริย์ จองโจ ที่ลงรายละเอียด มากกว่า ของ กษัตริย์ จูมง และกษัตริย์ กวางแกโต สองพระองค์ หลัง เป็น กษัตริย์นักรบ แต่ กษัตริย์ จองโจ เป็น กษัตริย์นักปกครอง



3. ที่ปรึกษา หรือกุนซือ ของกษัตริย์


ยุคของกษัตริย์ จูมง

เหล่าบรรดา ข้าราชบริพาร แม่ทัพ ต่างๆ ของ กษัตริย์ จูมง ล้วนมาจาก ชาวยุทธ์ ธรรมดาที่ เก่งกล้าสามารถในเชิงรบ เชิงต่อสู้ มากกว่า การใช้แผนกลยุทธ์ หรือ ศึกษาการรบจาก ตำราพิชัยสงคราม แผนการรบ ก็ได้จากค่อยๆสั่งสมประสบการณ์ บวก กับ กำลังใจที่แข็งแกร่ง ใจกล้า ไม่กลัวตาย
มีเพียงยอนทาบัล ที่ใช้ประสบการณ์จากการค้าขาย การเรียนรู้อุปนิสัยใจคอ ของคู่ค้า ในระดับหัวหน้าเผ่าต่างๆ รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ใช้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ มาเป็นข้อต่อรอง มาให้คำปรึกษา แก่ ซอซอนโน และ กษัตริย์ จูมง เข้าตำรา พิชัยสงคราม ว่า รู้เขา รู้เรา ถือได้ว่า เป็น เสนาบดีใหญ่ ของ โคคุเรียว ที่สถาปนาขึ้นใหม่


ยอนทาบัล เป็นคนที่รู้จัก ถอยหนึ่งก้าว ในสถานการณ์ ที่ควรต้องถอย เป็นคนสุขุม รอบคอบ ไม่ยึดติดกับหัวโขนหรือตำแหน่ง เมื่อ ยกตำแหน่ง ผู้นำ แคว้น เครุ ให้ ซอซอนโน แล้ว ก็ วาง ตัวเป็นแค่บิดา เป็นแค่ผู้ให้คำแนะนำปรึกษา เมื่อผู้นำคนใหม่ต้องการ ยอมรับการตัดสินใจของผู้นำ เป็นผู้ช่วยเหลือ และด้วยความรักของพ่อ ยอนทาบัล จึง ต้องตัดใจ ยอมให้ ซอซอนโน เป็นเพียง ราชินี ของโคคุเรียว แทนที่จะคิด รวบอำนาจของโคคุเรียว ไว้ เป็น ของแคว้นเครุ และภายหลังก็ ติดตามซอซอนโน ไปตั้งอาณาจักรใหม่ ลูกต้องการอย่างไร พ่อไม่ขัด
จูมง จะมีแม่ทัพ ซ้าย และ แม่ทัพขวา (ที่ลืมชื่อไปแล้ว) เป็นขุนศึกคู่พระทัย เคียงข้างในสนามรบ ตลอดมา


ยุค กษัตริย์ กวางแกโต

ฮยอนโก
ผู้นำของหมู่บ้านโคมิล มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆหลายแขนง ทั้งการแพทย์ การปกครอง การรบ การวางแผนกลยุทธ์ เป็นอาจารย์สอนการเป็นกษัตริย์ที่ดีให้กับทัมด๊ก มีความจงรักภักดีเต็มเปี่ยมในหัวใจ ไม่หวังผล ทั้งตำแหน่ง ความเป็นใหญ่ รวมทั้งอำนาจ เนื่อง จากละครเขียนให้ ฮยอนโก คือ ผู้ติดตาม ผู้พิทักษ์ กษัตรย์ จูชิน ที่จุติ จากสวรรค์ อวตารของเทพฮวันอุง ลงมาเป็น ทัมด๊ก ซึ่งในโลกมนุษย์จริงๆแล้ว คงไม่มีใคร มีบุญอย่างทัมด๊ก ที่จะมี กุนซือ อย่างฮยอนโก รอบรู้สารพัดไปหมด ก็เพราะ มาจากเทพผู้พิทักษ์ ลงมาจากสวรรค์ ก็ขอข้าม ฮยอนโก ไป เพราะคงไม่มีตัวตนแบบนี้จริงในโลกมนุษย์


ที่หมู่บ้านโคมิล พร้อมสรรพด้วยวิชาความรู้ ทุกแขนง ตั้งแต่ ไม้จิ้มฟัน ยันเรือรบ ประมาณนั้น
นอกจากนี้ทัมด๊ก ยัง มี แม่ทัพฮีกแก หัวหน้าแคว้น จุนโน อีก คนด้วย ทั้งฮยอนโก และฮีกแก ได้แต่รวบรวมเสนอ ข้อมูลต่างๆ ถวาย ทัมด๊ก ส่วนการตัดสินพระทัย ของทัมด๊ก มักจะสวนทางกับ ความเห็นของ กุนซือ ฮีกแก เสมอๆ ฮีกแก มิใช่ เทพผู้พิทักษ์ แต่ มีความจงรักภักดี กับ กษัตริย์ โคคุเรียว
ทัมด๊ก มี จูมูชิ ชอโร เป็น ขุนศึก แม่ทัพ ซ้ายขวา รวมทั้ง มี ขุนพลโกอูชง และซูจินี อีก 2 ขุนศึกด้วย มี ฮยอนโก ที่ไม่ได้มีความสามารถ ในการใช้อาวุธ แต่เป็น เสนาธิการทหาร


ยุคกษัตริย์ จองโจ


ฮงกุกยอง
เป็นกุนซือของ กษัตริย์ จองโจ ที่มีบทบาท เป็นมนุษย์สามัญธรรมดาทั่วไปๆ ฮงกุกยอง เป็นคนมีความรู้ความสามารถ เดิม เป็น อาลักษณ์ จึงไม่แปลก ที่จะเป็นคนมีความคิดอ่านลึกซึ้ง จนมีรัศมีผู้รอบรู้ ฉายแววาว จน จอง ฮูกกยอม ราชเลขา ของ กษัติย์ ยองโจ พระอัยกา ของ กษัตริย์ จองโจ สนใจ และอยากได้ไว้ใช้สอย
ตามความรู้สึกในปี 2551 ดิฉัน รู้สึก ฮงกุกยอง เป็น คนที่ใฝ่หาอำนาจ เมื่อมีการประเมินสถานการณ์ ว่า หากจะเลือก อยู่ข้าง ราชเลขา จองฮูกยอมซึ่งเป็น บุตรบุญธรรม ของ องค์ หญิง ฮวาวาน คงไม่มีโอกาสข้ามหน้าข้ามตา ราชเลขาจอง ไปได้ เพราะฐานของ ราชเลขาจอง แน่นหนา มั่นคง เลื่อยไม่หัก ผลักไม่ล้ม ฮงกุกยอง จึงได้แต่ถอยออกมาดูสถานการณ์ และเลือกที่จะเข้าข้าง องค์ชาย ลีซาน หากสามารถช่วยองค์ชาย ลีซาน เป็น กษัตริย์ได้ ฮงกุกยอง ย่อมเป็นบุคคลสำคัญ ได้อยู่ข้างวรกายกษัตริย์ แม้จะยากลำบากแต่ผลตอบแทนย่อมคุ้มค่ากว่า และมีความเป็นไปได้ ที่องค์ชาย ลีซาน ซึ่งดำรงตำแหน่ง รัชทายาทในขณะนั้น จะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะเจ้าชายเชื้อพระวงศ์ องค์ อื่นๆ ยังทรงพระเยาว์ ( องค์ ชาย ลีซาน ยังมี พระอนุชา ต่างพระมารดา อีก 2 องค์ แต่ มีพระชนม์ ห่างกับ องค์ชาย ลีซาน มาก)
และเมื่อเลือก องค์ชาย ลีซานแล้ว ฮงกุกยอง ก็ มีความจงรักภักดี และ พยายามใช้ความรู้ความสามารถ ทั้งหมดที่มี สนองพระกรุณาธิคุณ แล้ว ในที่สุด สิ่งที่อยากได้ องกุกยอง ก็ได้มา คือ อำนาจ ซึ่งเป็น กิเลศอันอุดม เพียบพร้อม ด้วย โลภะ โทสะ และโมหะ
คุณธรรมของ ฮงกุกยอง เริ่มสูญหาย เมื่อ น้องสาว ได้ เข้ามาเป็นพระสนม และเพื่อ ช่วยปกป้อง พระสนม ฮงกุกยอง ก็เริ่ม มีรัศมีชั่วร้าย ยิ่งเข้าใจผิด คิดแก้แค้นให้พระสนม ที่เสียชีวิต หลังจากเข้าวังมาเป็นพระสนม ได้ เพียง 2 ปี ฮงกุกยอง ก็ เริ่มเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กระทำการ อันส่งผลให้ ตัวเองหมดอำนาจวาสนา จนที่สุด ถูกเนรเทศ และเสียชีวิตด้วย วัยเพียง 33 ปี

แต่สิ่งที่ ฮงกุกยอง ไม่ได้ เลือนหายหรือเสื่อมคลายไปเลย จนวันสิ้นชีวิต คือ ความจงรักภักดี ต่อ กษัตริย์จองโจ
ฮงกุกยอง มีส่วนช่วย กษัตริย์ จองโจ เป็นอย่างมาก ในการปฎิรูปการปกครอง ความเป็นอยู่ของราษฎรชาวโซซอน ได้ ใช้ความรู้ความสามารถ บวกด้วยความทุ่มเท น่าเสียดายที่คิดผิด ยอมให้น้องสาว เข้าวังมาเป็นพระสนม ทำให้ ชีวิตของ ฮงกุกยอง หันเหออกไปสู่หายนะ




4. ตามความรู้สึก ดิฉัน มีนิยาม ให้ กับละคร ทั้งสามเรื่อง

เรื่องจูมง คือ รักชาติ
เรื่อง the legend คือ บารมี
เรื่อง ลีซาน คือ อำนาจ


อำนาจ

กิเลศ ตัวร้าย ที่โลกมนุษย์ ปั่นป่วน มาตั้งแต่ ยุคโบราณ มาจนทุกวันนี้ ยากจะขุดทำลาย หรือไถ่ถอนออกจากจิตใจ ของผู้ใฝ่หา ไม่ต้องย้อนประวัติศาสตร์หลับตามองภาพ เพราะยุคปัจจุบัน ก็ มีความรุ่นวาย อันเกิดจากโมหะจริต ของผู้ ต้องการ อำนาจ ให้ มองเห็นเด่นชัด ด้วย สองตา ตัวเอง ด้วย ความรู้สึกจากการสัมผัสเหตุการณ์ หรือด้วยกระแสข่าวที่หลั่งไหลมาทุกวี่วัน

ในรัชสมัยของ กษัตริย์ ยองโจ และกษัตริย์ จองโจ เป็น การแย่งชิงอำนาจที่เด่นชัด นับแต่ พระมเหสีองค์ที่สองของ กษัตริย์ ยองโจ องค์หญิง ฮวาวาน
องค์ชาย ลีซานที่ต้องปกป้องพระองค์เองไม่ให้ ถูกแย่งอำนาจไป
อำนาจในการปกครองของเหล่าขุนนาง การแบ่งฝ่าย 2 ฝ่ายของขุนนาง

ตัวอย่างที่น่าสลดใจของผู้ได้อำนาจ ใช้อำนาจที่ผิดทาง จน สูญเสียอำนาจ ของ พระมเหสีกษัตริย์ ยองโจ องค์หญิง ฮวาวาน ราชเลขาจอง ราชเลขา ฮงกุกยอง
การแย่งอำนาจ หากภายนอกสงบดี ก็ต้องมีการแย่งอำนาจภายในกันอย่าง ละคร Yi-San เพราะมีเวลาว่างมากเกินไป
แต่ก็มีบางยุคสมัย ที่ ต้องต่อสู้ กับอำนาจ ภายนอก ทั้งแก่งแย่ง อำนาจกันภายใน เราเองก็มียุค ของ อยุธยามาให้เห็น ช่างน่าเศร้า จริงๆ

ขอ ยกตัวอย่าง เรื่องอำนาจ ที่ไม่เกี่ยวกับ ละคร ทั้ง 3 เรื่อง
ขอยกเรื่องสามก๊ก เด่นชัดมากของการแสวงหาอำนาจ และเมื่อได้อำนาจมาแล้ว อำนาจ ก็เปลี่ยนคน ให้ เป็นคนละคนกันได้
เช่น เล่าปี่ เป็นต้น เล่าปี่ ในฐานะ พระเจ้าอา มี ขงเบ้งเป็นกุนซือ เล่าปี่ จะเชื่อฟัง กุนซือ ขงเบ้งมาก ต่อมาภายหลัง เมื่อถูกยกเป็นฮ่องเต้ จาก ก๊กของพระองค์เอง เล่า ปี่ ก็ เริ่มไม่เชื่อคำแนะนำของขงเบ้ง จนทำให้เสียการ โอรสของเล่าปี่ที่รับอำนาจต่อมา ก็ เช่นกัน เพราะ อำนาจ พาให้หลง งง งวย ได้อำนาจแล้วก็หลงว่าตัวเองเก่งแล้ว ไม่ฟังใคร

พระนางบูเซ็กเทียน ที่ต้องแสวงหาอำนาจ ถึงขั้น ยอม ฆ่า พระธิดาองค์น้อยที่ยังแบเบาะ เพื่อแย่งอำนาจ จาก ฮองเฮา ในครั้งนั้น การแย่งอำนาจในเบื้องต้นนั้นเพื่อปกป้องตัวเอง จาก อำนาจของฮองเฮา ครั้น ได้ อำนาจมาจริง อำนาจ ของฮองเฮา ก็ไม่พอเพียง บูเซ็กเทียน ต้องแสวงหาอำนาจมากกว่านั้น เพื่อปกป้องตัวเอง จากเหล่าขุนนาง เมื่อ ยกตัวเองเป็น ฮ่องเต้หญิง ก็ ต้องรักษาอำนาจ จาก พวกกบฏ ทั้งหลาย ที่ต้องการโค่นล้ม จนกลายเป็น หวงอำนาจ ดูละคร เรื่องนี้แล้ว แม้จะสื่อว่า บูเซ๊กเทียน รักหวังดี กับประเทศชาติ นึกถึงความสุขสงบของประชาชน แต่ ที่จริงแล้ว ก็เพื่อรักษาอำนาจ ไว้นั่นเอง

บารมี

ในยุคของกษัตริย์ กวางแกโต

มีคนที่ต้องการอำนาจ คือ แทจังโร ที่ต้องการอำนาจจากสวรรค์ และยอนการยอ ที่ต้องการอำนาจให้ ยอนโฮแก เป็นกษัตริย์ ทั้งสองคน จึงร่วมมือกัน ด้วย ความต้องการเดียวกัน คือ อำนาจ อำนาจที่แบ่งสรรได้ว่า อำนาจของสวรรค์ แบ่งให้ แทจังโร อำนาจบนพื้นพิภพ ยกให้ยอนโฮแก
การแสวงหาอำนาจ ของ แทจังโร และยอนการยอ พ่ายแพ้ บารมี ของ กษัตริย์ กวางแกโต บารมีที่เสริมส่งด้วย ความจงรักภักดี ของ สี่ผู้พิทักษ์ ที่ ยอมกายถวายชีวิต ให้ ทัมด๊ก
ทั้งที่ แทจังโร มี ฤทธิ์เดชมากมาย ยอนการยอ มีอำนาจเงิน อำนาจทางทหาร รวมทั้งบารมีที่ครอบคลุมขุนนางของโคคุเรียว และผู้นำแคว้นอีก 4 แคว้น
ทั้งหมดทั้งสิ้น ต้องพ่ายแพ้ กับ บารมีของ ทัมด๊ก
ทัมด๊ก เป็นกษัตริย์ ที่มีรัศมี บารมี ติดพระองค์มา ซูจินี ที่รัก ทัมด๊ก แบบหญิงสาว รักชายหนุ่ม แต่ลึกๆ ในใจ คือรัก แบบผู้รับใช้ รักที่ ยอมถวาย ชีวิต ให้ได้

รักชาติ

ในยุค ของกษัตริย์ จูมง
การแสวงหาอำนาจ ก็มี แต่ จะถูกกลบด้วยคำว่ารักชาติ
ไม่ว่า กษัตริย์ กึมวา ที่ อยู่บนอำนาจ แต่เพราะรักชาติ พูยอ ก็ ยอม ที่จะยกอำนาจให้ องค์ชายจูมง ไม่ยกให้ พระโอรสจริง คือองค์ชาย แทโช รัชทายาทของพระองค์ ขอเพียง จูมง ไม่ สร้างชาติใหม่ให้ พูยอ เลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ และคาบสมุทรเกาหลี

เสนาบดี 3 สมัยของ พูยอ ที่มีอำนาจในพูยอ มากมาย ก็ ยอมหันซ้ายหันขวา เดี๋ยวอยู่ข้างองค์ชาย แทโช บางที ก็ อยู่ข้างกษัตริย์ กึมวา เป็นทั้งเสนาบดีไร้คุณธรรมในบางครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อ อาณาจักร พูยอ มิใช่เพื่อ อำนาจของตนเอง

องค์รัชทายาท แทโช ก็ แสวงหา อำนาจสูงสุดของกษัตริย์ กระทำการ แย่งอำนาจพระบิดา ก็อ้างรักชาติเป็นความมุ่งมั่น
ทำลายล้างองค์ชาย จูมง ก็อ้างรักชาติ เป็นมูลเหตุทั้งที่เป็นเพราะ ริษยาและเกลียดชังองค์ชาย จูมง

ซอซอนโน ก็ เป็นหญิงทะเยอทะยาน แต่ ก็แพ้ความรักที่ต่อ องค์ชาย จูมง ความทะเยอทะยาน จึงกลายเป็นความทุ่มเท ที่จะส่งเสริม อำนาจ ให้ จูมง แทนไม่ได้ใฝ่หาอำนาจให้ตัวเอง ต่อมาภายหลัง ก็ ใฝ่หา สร้างอำนาจ ให้ โอรส สองพระองค์ แทน โดยไม่ให้ร้าย กับ กษัตริย์ จูมง ใช้ วิธีแยกตัว ไปสร้างอำนาจใหม่ ในดินแดนใหม่

ยอนทาบัล เพราะร่ำรวยล้นเหลือ จึงไม่ได้ แสวงหาอำนาจมาสร้างความร่ำรวย อีก และไม่ยึดอำนาจไว้ เพราะรัก บุตรสาว ซอซอนโน ต้องการเห็นความสุข ของซอซอนโน มากกว่าสิ่งอื่น เป็นพ่อที่น่านับถือมาก
สนับสนุน ช่วยลูกทุกอย่างที่ลูก ต้องการ

5. ผลงานของกษัตริย์ สามพระองค์

กษัตริย์ จูมง สร้างอาณาจักรโคคุเรียว สำเร็จ มีอายุ ยืนยาว มาจน คริสตศักราช 668 มีกษัตริย์ สืบต่อ ราชวงศ์ Go หรือKo รวม 28 พระองค์ อาณาจักร แผ่ขยายออกไปไพศาล เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ใน ยุค กษัตริย์ จางซู พระโอรส ของ กษัตริย์ กวางแกโต แล้ว ก็ค่อยๆ เสื่อมถอย จนล่มสลาย ไปตามหลักสัจธรรม คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ล้วนเป็นของธรรมดา
และพระพุทธศาสนา ได้ เข้ามาที่โคคุเรียว ในสมัย กษัตริย์ โซซุริม พระปิตุลาของ กษัตริย์ กวางแกโต
มีการสร้างวัดพุทธ
มีศิลปะการต่อสู้ เทควันโด ในยุค โคคุเรียว

กษัตริย์ กวางแกโต
ทรงขยายอาณาเขตไปถึง แมนจูเรีย ทรงเป็นกษัตริย์ผู้พิชิต
และทรงวางรากฐานให้กับ โคคุเรียว หลายประการ ขออ้างตามละครดังนี้
ทรงแต่งตั้งขึ้นใหม่ 2 หน่วยงาน ขอลอก ข้อความที่ คุณ Gaulsan แปลมา ดังนี้
หน่วยงาน Jangsa : a department newly established by Kwang-gaeto Taewang,to record chronicle.ถ้าเป็นบ้านเราจะเรียกว่า กรมอาลักษณ์ ไหม ?
อาลักษณ์ = ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก
หน่วยงาน Chamgoon : a department newly established by Kwang-gaeto Taewang, to advice military affairs To the King.นี่คือฝ่ายเสนาธิการทหารไหม ?
ต่อมา ยังทรงรวบรวมกองทัพทั้งสี่แคว้น เป็นกองทัพทั้งหมดของโคคุเรียว อยู่ภายใต้ กษัตริย์ ทรงรวบรวม ห้าแคว้น ให้มีการปกครองภายใต้การปกครองเดียวกัน และชำระกฎหมายให้เป็นหนึ่งเดียวภายในแคว้นต่างๆ
และทรงนำเอาพระ ราโชวาท ของกษัตริย์ โซซูริม เพื่อเป็นผู้ปกครองที่ทรงอำนาจ ทรงทะนุบำรุงการศึกษา และให้มีสำนักปรัชญาเป็นแหล่งรวมความรู้ Taehak และ Kyongdang ผลิต ผู้มีความรู้ความสามารถ ในด้านต่างๆ

กษัตริย์จองโจ

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการปฏิรูปหน่วยงานต่างๆ และวางรากฐานการปกครองให้กับอาณาจักร
กษัตริย์ จองโจ ทรงให้ล้มเลิกข้อกีดกันที่มิให้บุตรที่เกิดจากอนุภรรยาของขุนนางเข้ารับราชการ
มีการจัดตั้ง คยูจาง-คัก (Kyujang-gak)ซึ่งเป็นห้องสมุดของอาณาจักร จุดประสงค์คือปรับปรุงจุดยืนด้านวัฒนธรรมและการปกครองของโชซอนและให้เจ้าหน้าที่สนใจได้ศึกษานอกจากนี้ยังเป็นการลดความมั่งคั่งของคนชั้นสูงที่มีความเกี่ยวดองกับพระมเหสีอีกทั้งยังมีการสนับสนุนการเรียนของนักเรียนซีฮัก(นักเรียนโรงเรียนนักปราชญ์)

ทรงให้มีการเลิกทาส
ราชสำนักเริ่มรับศาสนาคริสต์เข้ามา มีขุนนางหลายคนหันไปนับถือศาสนาคริสต์
กษัตริย์จองโจใช้เวลาเป็นอย่างมากในการพยายามที่จะลบล้างเรื่องราวที่พระบิดาของพระองค์มีอาการป่วยทางจิต พระองค์ย้ายศาลของเมืองซูวอนโทมาไว้ใกล้กับสุสานของพระบิดาอีกทั้งพระองค์ยังสร้างปราการ ฮวาซอง (Hwaseong) ไว้พิทักษ์สุสาน ในปัจจุบันสถานที่นี้ องค์การ ยูเนสโก ประกาศให้เป็นมรดกโลก

นี่เป็นความรู้สึก จากการดูละครประวัติศาสตร์ 3 เรื่อง สำหรับเรื่อง ลีซาน ดูไม่จบเรื่อง แต่ ตัดตอนบทความมาจาก ของคุณ ร้อยตะวัน

ดิฉันไม่ใช่ นักประวัติศาสตร์ หรือ นักวิจารณ์ละคร หรือ นักเขียน หาก ข้อความที่เขียน มีความผิดพลาดกับข้อมูลประวัติศาสตร์ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ บทความเหล่านี้ นี่เป็นการแสดงความคิดเห็น ของผู้ชมละคร เท่านั้น ขอเชิญเพื่อนมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ


No comments:

Post a Comment