Thursday, 28 May 2009

"A Frozen Flower" เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกษัตริย์ กงนิม ที่ 31 แห่งราชวงศ์โครยอ

[VOD] Korean Poetry, 쌍화점 Ssangwhajeom / "A Frozen Flower" Korean Movie เรื่องจริงที่ควรดู


Korean Poetry, 쌍화점 Ssangwhajeom / 쌍화점 ost



"A Frozen Flower" เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยกษัตริย์ กงนิม ที่ 31 แห่งราชวงศ์โครยอ

เดิมทีผู้เขียนได้อ่านวิจารณ์เกี่ยวกับภาพยนต์เรื่องนี้ ทั้งที่เป็นภาษาเกาหลี อังกฤษ และไทย..บทวิจารณ์หลายบทก็เจาะประเด็นไปที่พ้นเรื่องเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกษัตริย์กับหัวหน้าองค์รักษ์และพระราชินี...บางท่านก็วิจารณ์ออกมาด้วยความไม่เข้าใจในประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีในยุคนั้น..บ้างก็ว่าเป็นภาพยนต์ของบุคคลที่ชอบเพศเดียวกัน...บ้างก็ว่าเพราะเหตุผลที่ถูกกดดันทางการเมืองแต่กลับบอกว่านี่คือส่วนสำคัญที่ภาพยนตร์ต้องการสื่อ...ซึ่งก็ไม่ผิดแต่ก็ไม่ถูกเสียทีเดียว...เนื่องจากภาพยนต์นี้เป็นภาพยนต์ที่สร้างขึ้นจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์กงนิม ที่ 31 แห่งราชวงศ์โครยอ

ผู้สร้างต้องการสะท้อนถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในข่วงปลายของอาณาจักรโครยอ...ในยุคนั้นโครยอต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของแคว้นหยวนหรือชาวเกาหลีเรียกว่าอาณาจักรวอน เนืองจากผู้นำอาณาจักรโครยออ่อนแอ และอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ภายใต้อทธิพลของสภาขุนนาง ด้วยเหตุดังกล่าวก่อให้เกิดการคอร์รัปชั่น ชนชั้นผู้ปกครองไม่สนใจราษฎร มุ่งเพียงเสาะหาความร่ำรวยผลประโยชน์และอำนาจใส่ตนและวงศ์ตระกูลเท่านั้น จึงทำให้อาณาจักรหยวนมีอำนาจเหนืออาณาจักรโครยอ

ตามธรรมเนียมปฎิบัติโบราณ แคว้นใดที่อ่อนแอกว่าย่อมต้องส่งองค์รัชทายาทไปพำนักในอาณาจัรที่เข้มแข็งกว่า ทำให้รัชทายาทมากมายหลายพระองค์ของโครยอต้องเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังแคว้นหยวน...แต่แท้ที่จริงแล้วก็คือการไปเป็นตัวประกันของโครยอนั่นเอง...หรือไม่ก็ต้องแต่งงานกับธิดาของเจ้าเมืองในแคว้นหยวนหรือราชธิดาของแคว้นหยวนเอง ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกต่อการควบคุมและยึกครองอำนาจในการบริหารและปกครองอาณาจักรโครยอได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นนโยบายในการแผ่ขยายอำนาจนั่นเอง

ดังนั้นการแต่งงานข้ามแคว้นหรืออาณาจักรนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรัชทายาทเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ราชบัลลังก์และเพื่อการครอบครองอาณาจักรโครยอ นับเป็นการสร้างรากฐานอำนาจให้แก่แคว้นหยวนให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อถึงรัชสมัยของกษัตริย์กงนิม พระองค์ไม่มีบุตรและมีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าพระองค์มีจิตใจฝักใฝ่ในเพศเดียวกัน จึงก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมแห่งความรักขึ้น เนื่องด้วยพระองค์ถูกกษัตริย์จากแคว้นหยวนบีบให้มีรัชทายาท ดังนั้นพระองค์จึงหาทางออกด้วยการมีพระบัญชาให้ราชองครักษ์ฮองลินร่วมหลับนอนกับพระราชินี โนกุก Noguk ซึ่งเป็นพระราชธิดาแห่งแคว้นหยวน หากแต่ราชองครักษ์ฮงลิน มิได้มีความสัมพันธ์เพียงพระราชินีเท่านั้น ยังมีความสัมพันธ์ลับๆ กับพระสนมของพระองค์และแอบลักลอบได้เสียกัน จนกระทั่งพระองค์จับได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงกริ้วและได้มีพระบัญชาให้ประหารชีวิตฮองลินและบรรดาราชองครักษ์ที่รู้เรื่องทั้งหมด ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจกับเหล่าทหารราชองครักษ์อย่างยิ่ง ทำให้เหล่าหทารราชองครักษ์วางแผนร่วมือกันสังหารพระองค์ ในประวัติศาสตร์จริงได้จารึกไว้ว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เพราะ ราชองครักษ์ ฮองลิม (Hong Ryun - 홍륜)และ ราชองครักษ์โชแมนเซง Choe Man-saeng ลอบสังหารในขณะที่พระองค์กำลังทรงพระบรรทม.

นอกจากนี้ผู้สร้างภาพยนต์ได้พยายามถ่ายทอดถึงอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะ ในสาขาต่าง ๆ มากมาย ของ กษัตริย์กงนิม หรือที่ชาวเกาหลีใต้รู้จักพระองค์เป็นอย่างดีในนามของ "กษัตริย์ศิลปินแห่งโครยอ" ไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านบทกวี ดนตรี หรือแม้กระทั่งการวาดภาพ ซึ่งปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้ ได้รวบรวมและจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานศิลปร่วมสมัยแห่งชาติ ณ กรุงโซล ซึ่งผู้เขียนได้นำมาโพสต์ไว้ในคอลัมส์นี้แล้ว รวมทั้งต้นฉบับซังฮวาจอม (쌍화점 Ssangwhajeom)ซึ่งแต่งขึ้นในยุคปลายของอาณาจักรโครยอ เป็นภาษาเกาหลี พร้อมด้วยคำแปล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เขียนได้แปลไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้อ่านมากขึ้น ว่าเหตุใดภาพยนต์เรื่องนี้จึงใช้ชื่อภาษาเกาหลีว่า 쌍화점 (Ssangwhajeom)
สำหรับบทกวีที่ขับร้องโดย โจจินโม ในภาพยนต์นั่นเป็นบทกวีที่แต่งขึ้นโดยพระเจ้ากงนิม ซึ่งสะท้อนถึงเรื่องราวของพระองค์เอง และยังเป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน ในประเทศเกาหลีใต้..


Korean Poetry, 쌍화점 Ssangwhajeom
13C (Koryeo period of Korea)


쌍화점에 쌍화 사라 가로신댄
회회아비 내 손모글 주여이다.
이 말사미 이점 밧긔 나명들명,
다로러 거디러 죠고맛간 삿기광대 네 마리라 호리라.
더러둥셩 다리러디러 다리러디러 다로러거디러 다로러
긔 자리에 나도 자라 가리라.
위 위 다로러거디러 다로러
긔 잔 대가티 덤거츠니 업다.

삼장사애 블 혀라 가고신댄
그 뎔 사주 l 내 손모글 주여이다.
이 말사미 이 뎔 밧긔 나명들명,
다로러 거디러 죠고맛간 삿기 상좌 ㅣ 네 마리라 호리라.
더러둥셩 다리러디러 다리러디러 다로러거디러 다로러
긔 자리에 나도 자라 가리라.
위 위 다로러거디러 다로러
긔 잔 대가티 덤거츠니 업다.

드레 우므레 므를 길라 가고신댄
우뭇용이 내 손모글 주여이다.
이 말사미 우물 밧긔 나명들명.
다로러 거디러 죠고맛간 드러바가 네 마리라 호리라.
더러둥셩 다리러디러 다리러디러 다로러거디러 다로러
긔 자리에 나도 자라 가리라.
위 위 다로러거디러 다로러
긔 잔 대가티 덤거츠니 업다.

술 팔 지븨 수를 사라 가고신댄
그 짓아비 내 손모글 주여이다.
이 말사미 이 집 밧긔 나명들명
다로러 거디러 죠고맛간 싀구비가 네 마리라 호리라.
더러둥셩 다리러디러 다리러디러 다로러거디러 다로러
긔 자리에 나도 자라 가리라.
위 위 다로러거디러 다로러
긔 잔 대가티 덤거츠니 업다.
----------------

Translation to English & Thai Language by ...ร้อยตะวัน (Roytavan)...


I went to the shop
for by some flower cake,
A man grabbed my wrist,
If a word bring out,
The errand boy have to told about this..,

You go to sleep now,
I go to sleep too.

I want go to the temple,
Please conducts me a temple's abbot,
Grabbed my wrist...

If a word bring out,
The yonger monk have to told about this..,

You go to sleep now,
I go to sleep too...

-----------------
ฉีนไปที่ร้านขายของ
เพื่อซื้อเค้กดอกไม้
มีใครบางคนมาจับข้อมือของฉัน
หากมีใครล่วงรู้เรื่องนี้..?
หนุ่มรับใช้คงต้องพูดเรื่องนี้แน่ ๆ

เธอต้องไปนอนล้วเหรอ,
ฉันก็ต้องไปนอนเหมือนกัน,

ฉันจะต้องไปที่อารามวัด
ท่นเจ้าอาวาสได้โปรดนำทางฉันสิ,
จูงมือฉันนะ
หากมีใครล่วงรู้เรื่องนี้...?
พระหนุ่มคงต้องพูดเรื่องนี้แน่ ๆ

เธอต้องไปนอนล้วเหรอ,
ฉันก็ต้องไปนอนเหมือนกัน,





This movie is based on Koryeo poem (13C). It is a corrupted love poem written in 13C (Koryeo period of Korea). The title and the theme of the movie follow the poem. The song you hear is made with the peom. The movie is about inappropriate love relationship between King, Queen and a royal guard.

쌍화점 Ssangwhajeom / "A Frozen Flower" Korean Movie : Synopsis

Synopsis In the end of Goryeo era politically manipulated by the Yuan Dynasty, the ambitious King of the Goryeo Dynasty organizes Kunryongwe. Hong Lim, the commander of Kunryongwe, captivates the King of Goryeo, and the Queen keeps her eyes on the relationship between Hong Lim and the King with a reluctant view. Meanwhile, the bilateral relation between Goryeo and the Yuan gets worse as Yuan demands to install the cousin of the King in the Crown Prince of Goryeo with ascribing it to no son the King has. The King refuses it resolutely, so the high-ranking officials of Goryeo, who are in submission to Yuan, are discontented with the king. One day, the King gives Hong Lim a covert yet unobjectionable order to sleep with the Queen instead of himself to protect the independence of Goryeo from the Yuan by making a son, the successor to Goryeo throne.

Gongmin of Goryeo:[공민왕 영정]


Jo Jin Mo cast : Gongmin of Goryeo[공민왕 영정]

Gongmin of Goryeo:[공민왕 영정] : The Artist King.

King Gongmin (1330 – 1374) ruled Goryeo (Korea) from 1351 until 1374. He was the second son of King Chungsuk. In addition to his various Korean names (see right), he bore the Mongolian name Bayàn Temür (伯顔帖木兒).

Goryeo had been a dependency of the Mongol Yuan Dynasty since Mongol invasion of Korea. Starting with King Chungnyeol, prospective rulers of Korea married Mongol princesses and were customarily sent to the Yuan Court, in effect, as hostages. As per this custom, King Gongmin spent many years in the Yuan court, being sent there in 1341, before ascending the Korean throne. He married the Mongol princess Queen Noguk (노국대장공주, 魯國大長公主). But in the mid-14th century Yuan was beginning to crumble, soon to be replaced by the Ming dynasty in 1368.

Although the relationship between Queen Noguk and the king were very close, they failed to conceive an heir for many years. Despite suggestions of receiving a second wife, the king ignored these requests. Queen Noguk became pregnant in 1365 but died during the child birth which led to the King's depression and mental instability. He became indifferent to politics and entrusted a great task to monk Sin Don (신돈, 辛旽). However, after six years, Sin Don lost his position.

Goryeo's entrenched bureaucracy never forgave King Gongmin for his reform efforts. They interpreted his policy of cutting all ties with the Yuan and establishing relations with Ming China as a direct threat to their status and feared that further attempts at reform might yet be made. Kaesong's deposed pro-Mongol faction battled to protect its position and hoped to renew ties with the Mongols who had helped them gain and hold their wealth in the first place. in 1374, he was killed by his young men, Choe Man-saeng (최만생) and some young men he was recently having relations with. One of the young men, Hong Ryun (홍륜) had relations with one of Gongmin's concubines, which led to Gongmin's anger. So before Gongmin could kill him, Hong Ryun and Choe Man-saeng killed Gongmin in his sleep.

ภาพวาดจริงจากฝีพระหัตถ์ของกษัตริย์กงนิมแห่งโครยอ
ปัจจุบันอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ศิลปร่วมสมัยแห่งชาติ ประเทศเกาหลีใต้
(National Museum of Contemporary Art)

ภาพวาดในภาพยนตร์

쌍화점 Ssangwhajeom : The rhythm of prose with Geomungo.

King Gongmin was well known for his artistic skills and are referred to as one of the best artists of the Goryeo period. He was also well-known for his calligraphy works. Example of his works are 《천산대렵도(天山大獵圖)》(국립현대미술관) 《노국대장공주진(眞)》 《석가출산상(釋迦出山像)》 《아방궁도(阿房宮圖)》《현릉산수도(玄陵山水圖)》 《동자보현육아백상도(童子普賢六牙白象圖)》.

ซังฮวาจอม ( Ssanghwajeom = 쌍화점 ):

การศึกษาในเรื่อง ซังฮวาจอมนี้ มีน้อยมาก อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็บังเอิญค้นคว้าหาจนได้เจอ บทสรุป เกี่ยวกับ ซังฮวาจอม( 쌍화점:Ssanghwajeom) ซึ่งเป็นบทสรุปย่อจากดุษฎีนิพนธ์ ของ Myung Joon Kim

ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างสรรบทกวีในยุคสมัยของกษัตริย์ ซูลกายอน ว่าเกิดขึ้นในช่วงที่พระองค์จะต้องเสด็จไปอยู่ที่แคว้นหยวน ซึ่งสมัยนั้นรัชทายาทหลายพระองค์ของอาณาจักรโครยอต้องไปศึกษาเล่าเรียนและต้องพำนักอยู่ที่แคว้นหยวนด้วย....ซึ่งความจริงก็คือการไปเป็นตัวประกันแก่แคว้นหยวนนั้นเอง...ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิด บทกวีหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ซังฮวาจอม ( Ssanghwajeom) นั่นเอง

ซังฮวาจอม ( Ssanghwajeom) เป็นการผสมผสานด้านวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัด ระหว่างชนชาติ อันได้แก่ มองโกล ซึ่งได้รับอิทพลโดยตรงจากศาสนอิสลาม ร่วมกับ ท่วงทำนองเสนาะที่ได้มาจากแคว้นหยวนซึ่งเดิมก็คือชาวฮั่น ผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเกาหลีที่เรียกว่า กอมูนโก จนกลายเป็น ซังฮวาจอม หรืออาจกล่าวได้ว่าคล้ายกับการขับเสภาของไทยนั่นเอง เพียงแต่มีใช้เครื่องดนตรีและจังหวะลีลาในการขับร้องที่แตกต่างกัน

논문정보
. 발행처 : 한국동서비교문학학회
. 간행물정보 : 동서비교문학저널 , 14권 , 전체:22페이지 , 시작페이지:7페이지
. 발행년월 : 2006년 1월
. 저자 : 김명준 ( Myung Joon Kim )

영문제목
On the External Factors Involved in the Creation of Ssanghwajeom

영문초록
Dissertation about Ssangwhajeom (쌍화점): Korean Poetry.

This dissertation aims to shed light on the external factors involved in the creation of Ssanghwajeom during the reign of King Chungryeol. King Chungryeol visited Yuan Empire several times since he became the crown prince, and experienced a highly advanced foreign culture in Yuan Empire where many different cultures coexisted. At that time, Islamic culture had filtered into the hearts of the people of Yuan Empire very deeply, and specifically, this penetration of Islamic culture contributed a lot to the formation of Wonsangok and miscellaneous plays. This cultural influence was extended to Koryeo and King Chungryeol, and finally, Ssanghwajeom was born here. It can be said that miscellaneous plays of Yuan Empire and Islamic religion were the underlying factors that led to the formation of Ssanghwajeom. We can infer that the 4 act system of miscellaneous plays of Yuan Empire, sole main singing character, male-oriented ruling ideology, etc, and music had bearings on Ssanghwajeom. On that basis, King Chungryeol had his interest in miscellaneous plays. The trade between Koryeo and Islamic states was gigantic, and the Arabian men entered Koryeo through Yuan Empire for the most part before and after the reign of King Chungryeol. They engaged in commercial activities in Koryeo, and the fact that Arabian men supervised the festival celebrating the construction of new palace in the 5th year after the enthronement of King Chungryeol indicates that they had a great influence in Koryeo. This background led an Arabian man to play the hero in Ssanghwajeom. And that the space of play, namely, restaurants, temples, downtown, taverns, etc, was designated as the entertaining district of commercial city points the fact that Islamic merchants played a signifiant role in the formation of commercial city at that time. Moreover, the plot in which a promiscuous man had multiple sexual intercourse with many women reflects the customs of male-oriented Islamic society.

http://www.reportnet.co.kr/detail/1175/1174777.html





공민왕 (恭愍王/1330~1374)

고려 제31대 왕(재위 1351∼74). 호 이재·익당. 이름 전. 첫 이름은 기. 몽골식 이름은 빠이앤티무르. 충숙왕의 둘째 아들. 비는 원나라 위왕의 딸 노국대장공주. 충목왕이 즉위할 때 강릉대군에 봉해졌다. 1341년(충혜왕 복위 2) 숙위하기 위하여 원나라에 가서, 노국대장공주와 결혼하였다. 원나라의 지시로 충정왕이 폐위되면서 왕위에 올랐다. 원나라가 쇠퇴해지자 원나라 배척운동을 일으키고, 52년(공민왕 1) 변발·호복 등의 몽골풍을 폐지하였다. 56년 몽골 연호·관제를 폐지하여 문종 때의 제도로 복귀하는 한편, 내정을 간섭한 정동행중서성이문소를 폐지하였다. 이어 원나라 왕실과 인척관계를 맺고 권세를 부린 기철 일파를 숙청하고, 100년 간 존속한 쌍성총관부를 쳐서 폐지하는 등 빼앗긴 영토를 회복하였다. 68년 명나라가 건국하자 이인임을 보내어, 명나라와 협력하여 요동에 남은 원나라 세력을 공략하였다. 69년 이성계로 하여금 동녕부를 치게 하여 오로산성을 점령, 국위를 크게 떨쳤다. 내정에서는 정방을 폐지하고, 신돈을 등용하여 귀족이 겸병한 토지를 소유자에게 반환시키고, 불법으로 노비가 된 사람을 해방시키는 등 개혁적인 정치를 베풀었다. 그러나 그 뒤 홍건적·왜구의 계속적인 침범으로 국력이 소모되었고, 65년 노국대장공주가 죽자 그녀를 추모하여 불사에만 전심하였다. 정치를 신돈에게 맡겨 정치가 문란해졌으며, 자제위를 설치하여 풍기도 문란해졌다. 특히 홍륜이 익비를 범하여 임신시키자, 이를 은폐할 의도로 홍륜·최만생 등을 죽이려다가, 그들에게 살해되었다. 그림에 뛰어나 고려의 대표적 화가의 한 사람으로 일컬어진다. 글씨에도 능하였다. 능은 현릉이다. 작품에 《천산대렵도》(국립현대미술관) 《노국대장공주 진》 《석가출산상》 《아방궁도》 《현릉산수도》 《동자보현육아백상도》 등이 있다.

SOURCE :
http://en.wikipedia.org/wiki/Chungnyeol_of_Goryeo
http://www.art2me.org/images/gamsang/KoreanArt/gongminwang.htm

http://www.seelotus.com/gojeon/gojeon/korea-gayo/ssang-hwa-jeom.htm

http://en.wikipedia.org/wiki/Chungnyeol_of_Goryeo

http://en.wikipedia.org/wiki/Gongmin_of_Goryeo

Tag :

논문, 고려가요, 고려속요, 충렬왕, 쌍화점, 원곡(元曲), 잡극, 이슬람, Koryeogayo, Koryeosokyo, King Chungyeol, Ssanghwajeom, Sangok of Yuan Empire, Miscellaneous Playes of Yuan Empire,

Islam, 동양철학, 한국동서비교문학학회, 동서비교문학저널

Roytavan@Copyright 2009

Monday, 25 May 2009

ละคร...กลยุทธ์การแก้ไข...ประวัติศาสตร์ชาติของเกาหลีใต้...



ถึง นักคัดลอกจากนิตยสารบางฉบับ

เนื่องด้วยบทความต่าง ๆ ที่ ทีมงานเขียนขึ้นนั้น เราตั้งใจจะทำให้เป็นวิทยาทานให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งทางทีมงานของเราไม่ได้หวงห้ามในการคัดลอกข้อความ แต่ด้วยสาเหตุที่ท่านได้นำบทความของเราไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจของท่านด้วยการนำบทความหรือข้อความที่ทีมงานได้เขียนขึ้น ไปตีพิมพ์ในนิตยสารของท่านและวางจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศในขณะนี้ จึงนับเป็นการกระทำที่ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง

ขณะนี้เราทราบว่าท่านได้แวะเวียนมาคัดลอกบทความของเราเป็นประจำ แล้วนำไปตัดต่อหัวท้ายบทความ ขณะนี้เราได้รวบรวมหลักฐานเรียบร้อยแล้ว...และพร้อมที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับท่านตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ 2537

ดังนั้น หากท่านไม่ต้องการให้เกิดเรื่องดังกล่าว กรุณาดำเนินการอย่างมีมารยาทในการคัดลอก ด้วยการ เครดิตที่มาของบทความให้ชัดเจน

ทั้งนี้แจ้งมาเพื่อเป็นการตักเตือนให้ทราบก่อนที่เราจะดำเนินการกับท่าน เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างสำหรับผู้กระทำผิดตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ของประเทศไทย

กาญจน์มุนี ศรีวิศาลภพ (ร้อยตะวัน) & TWSSG TEAM
roytavan@hotmail.com / byjtwssg@gmail.com


Dangun Wanggeom or Hwanung
Hwannug was the legendary founder of Gojoseon


ละคร...กลยุทธ์การแก้ไข...ประวัติศาสตร์ชาติของเกาหลีใต้...

สำหรับท่านที่อยู่ในวงการละคร บันเทิง และผู้ผลิตสื่อต่าง ๆ หลายท่านคงเข้าใจ
ถึงพลังอำนาจของสื่อละครกันเป็นอย่างดี ...และด้วยเหตุดังกล่าวรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ร่วมพลังสานสามัคคีในการที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ผ่านละคร TV อย่างต่อเนื่องในขณะนี้

ด้วยการสนับสนุนให้ ผู้ผลิตรายการละคร แต่ละช่องของประเทศสร้างละครและภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน ค่ายโทรทัศน์ที่เรารู้จักกันดีของเกาหลีใต้ คือ MBC , SBS , KBS 1, KBS 2, เป็นต้น ขณะเดียวกันก็เน้นที่ Arirang Global TV ซึ่งถือว่าเป็น ช่อง TV ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ไม่แพ้ NHK , CNN , CCTV ...ect.

และนี่คือกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้เพื่อการแก้ไข...ประวัติศาสตร์ชาติของเกาหลีใต้...
เหตุที่ผู้เขียนกล่าวเช่นนี้ก็เพราะเดิมนั้น ประวัติศาสตร์ของประเทศเกาหลีใต้ถูกเขียนขึ้นโดย จีนและญี่ปุ่น..แทบทั้งสิ้น. .ด้วยเหตุที่เกาหลีใต้เคยตกเป็นอาณานิคมของจีนและญี่ปุ่นมาก่อนนั่นเอง...

ตัวอย่างละครที่เข้ามาฉายในประเทศไทย..และนำพาให้คนไทยรู้จักประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้มากขึ้นไม่มากก็น้อย ก็คงต้องกล่าวถึง สี่กษัตริย์ประวัติศาสตร์เกาหลี อันได้แก่ กษัตริย์ จูมง ,กษัตริย์ มู, กษัตริย์กวางเกโตมหาราช และ กษัตริย์จองโจ หรือลีซาน ที่กำลังฉายอยู่ขณะนี้...
หากเราจับตามองวงการละครของประเทศเกาหลีใต้ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา 2007 -2008 จนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ทุ่มเทงบประมาณให้กับกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอย่างมากมายมหาศาล รวมทั้งเตรียมแผนส่งเสริมประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมของประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะจัดงานเทศกาลภาพยนตร์บันเทิง หรือการรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมเทศกาลอาหารเกาหลี ควบคู่ไปกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหอการค้าประเทศเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่อง...นับว่าเป็นความชาญฉลาดของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่น่าจับตามอง...

ตัวอย่างละครที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชนชาติของเกาหลีที่ประเทศไทยเคยนำมาออกอากาศแล้ว 4 เรื่อง ได้แก่ Jumong , Seo Dong Yo , The Legend , Yi San ซึ่งละครทั้งหมดนี้สร้งโดย Base on Real Story ทั้งสิ้น


Jumong The first King of Goguryeo

King Dongmyeong of Goguryeo (58 - 19 BC, r. 37 – 19 BC), "Dongmyeongseongwang" (東明聖王) also known by his birth name Jumong, was the founding monarch of Goguryeo, the northernmost of the Three Kingdoms of Korea. In the Gwanggaeto Stele, he is called Chumo-wang (King Chumo). In the Samguk Sagi and the Samguk Yusa, he is recorded as Jumong, with the surname Go. The Samguk Sagi states that he was also known as Chumo or Sanghae (상해, 象解). The name is also transcribed in other records as Chumong (추몽, 鄒蒙), Jungmo (중모, 中牟 or 仲牟), or Domo (도모, 都牟).

Jumong's kingdom of Goguryeo eventually grew into a great regional power. Goguryeo stood for 705 years and was ruled by a total of 28 kings in the Go Royal Family until it was conquered by the Silla-Tang alliance. Balhae and Goryeo succeeded it, and the modern descendants of Jumong still bear his family name "Go."


King Mu of Baekje

King Mu of Baekje (600 - 641, ? - 641) was the 30th king of Baekje, one of the Three Kingdoms of Korea. He was the son of King Beop.

The Samguk Yusa relates a legend regarding Mu's marriage to a princess of Silla, although historians consider it unlikely to be true, given the hostilities between the rival kingdoms. In this story, the young Seodong (Mu's childhood name) falls in love with Silla princess Seonhwa, and intentionally spreads a song about the princess and himself among the people[5]. Thanks to this song ("Seodong-yo," or "Seodong's Song") king Jinpyeong of Silla banishes the princess, and Mu marries her and becomes the king of Baekje.

Mu is one of the main characters of the South Korean television drama Seo Dong Yo (서동요). In the drama, Mu appears as the hidden fourth son of King Wideok of Baekje. After his mother's death, Mu meets his future wife, Princess Seonhwa of Silla, and falls in love with her.



Gwanggaeto the Great King of Korea

Gwanggaeto the Great of Goguryeo (374-413, r. 391-413) was the nineteenth monarch of Goguryeo, the northernmost of the Three Kingdoms of Korea. His full posthumous name roughly means "Very Greatest King, Broad Expander of Territory, buried in Gukgangsang.", sometimes abbreviated to Hotaewang or Taewang. He selected Yeongnak as his era name, and was called King Yeongnak the Great during his reign.

Under Gwanggaeto, Goguryeo once again became a major power of East Asia, having enjoyed such a status in the 2nd century CE. Upon King Gwanggaeto's death at thirty-nine years of age in 413, Goguryeo controlled all territory between the Amur and Han Rivers (two thirds of modern Korea, Manchuria, and parts of the Russian Maritime province and Inner Mongolia).
In addition, in 399, Silla submitted to Goguryeo for protection from raids from Baekjae. Gwanggaeto captured the Baekje capital in present-day Seoul and made Baekje its vassal. Many consider this loose unification under Goguryeo to have been the only true unification of the Three Kingdoms.

Gwanggaeto's accomplishments are recorded on the Gwanggaeto Stele, erected in 414 at the site of his tomb in Ji'an along the present-day Chinese-North Korean border. It is the largest engraved stele in the world.



Emperor Jeongjo of Joseon

King Jeongjo (1752–1800) was the 22nd ruler of the Joseon Dynasty of Korea. Because of his various attempts to reform and improve the nation, King Jeongjo is regarded as the reformation ruler in Joseon. He was preceded by his grandfather King Yeongjo (1724–1776) and succeeded by his son King Sunjo (r. 1800–1834). He is widely regarded as one of the most successful and visionary rulers of Joseon along with King Sejong.

***ส่วนละครประวัติศาสตร์ที่ยังไม่มีใครนำเข้ามาฉายในประเทศไทยได้แก่ Kingdom of the winds , Dae jo yong , Dae wang Sejeong , Empress Chunchu , Ja Meung Go และ Queen Seon Duk ซึ่งกำลังจะออกอากาศในประเทศเกาหลีใต้ ในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้...



The Kingdom of The Winds
The drama about the life of Jumong's grandson, Moo Hyul, who was born with a curse to kill his parent, siblings, son and destroy Goguryeo.

เรื่องราวของกษัตริย์แดมูชินซึ่งเป็นหลานชายของกษัตริย์จูมง เดิมชื่อ มูฮุล ซึ่งเป็นผู้ฆ่ากษัตริย์ แทซู (ลูกชายของกษัตริย์กึมวาแห่ง ดงบูยอ ผู้ขับไล่องค์ชายจูมงออกจากอาณาจักรดงบูยอ) ซึ่งทำให้อาณาจักรดงบูยอล่มสลาย และภายหลังได้กลายมาเป็น...แดมูซิน กษัตริย์องค์ที่ 3 ของ โคคูเรียว

Daemusin of Goguryeo

King Daemusin of Goguryeo (4-44, r. 18-44) was the third ruler of Goguryeo, the northernmost of the Three Kingdoms of Korea. King Daemusin led early Goguryeo through a period of massive territorial expansion, conquering several smaller nations and the powerful kingdom of Dongbuyeo.

Prince Muhyul was the third son of King Yuri, and grandson of Jumong. He was made crown prince in the year 14, at the age of 11, and became king upon his father's death four years later. He was buried in Daesuchonwon.

Daemusin strengthened central rule of Goguryeo and expanded its territory. He annexed Dongbuyeo and killed its king Daeso in 22. Along the Amnok River, he conquered Gaema-guk in 26, and later conquered Guda-guk.

(Geumwa's eldest son Daeso became the next King. King Daeso attacked Goguryeo during the reign of its second ruler, King Yuri. Goguryeo's third ruler King Daemusin attacked Dongbuyeo and killed King Daeso. After internal strife, Dongbuyeo fell, and its territory was absorbed into Goguryeo.)


Dae Jo Yeong of Balhae (กษัตริย์แดโจยัง แห่งบัลเฮ)

The life about King Dae Jo Yeong and other heroes of the Balhae Kingdom. Yi Hae Go is Dae Jo Yeong's enemy and they both fight for the love of Cho rin. Cho rin is from the Georan tribe and she loves Dae Jo Yeong. But Dae Jo Young ends up marrying King Bojang's niece, Suk young.

ละครเกี่ยวกับกษัตริย์แดโจยังและนักรบของช่าวบัลเฮ ซึ่งกษัตริย์แดโจยังต้องต่อสู้กับอิ เฮโกะ ทั้งสองต้องต่อสู้กันทั้งทางการเมือง และความรัก เพราะเขาทั้งสองได้ชอบผู้หญิงคนเดียวกันนั่นก็คือ โชริน ซึ่งเธอมาจากเผ่าส์โกรัน แต่เธอนั้นมีใจชอบพอกับแด โจยัง แต่แด โจยังกลับไปแต่งงานกับหลานสาวของกษัตริย์โบจางที่ชื่อ ซุกยังแทน

Dae Jo-yeong or King Go of Balhae : The frist of Balhae

Dae Jo-yeong (Unknown - 719), also known in Korea as King Go (Hangul: 고왕, Hanja: 高王), established the state of Balhae, reigning from 699 to 719. His origin is heavily disputed (see below); most Korean scholars believed that he was of Goguryeo heredity, but most scholars in China believed that he was of Mohe (Malgal) ancestry.


The Great King Sejong of Choson (กษัตริย์เซจงมหาราช)

This drama is about the life of the fourth king of the Choson Dynasty, King Sejong. He is best remembered for creating the native Korean alphabet, Hangul.

ละครเรื่องนี้เกี่ยวกับกษัตริย์องค์ที่สี่ของราชวงศ์โชซอน กษัตริย์เซจง ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่คิดค้นตัวอักษรเกาหลี ฮันกุลขึ้นมา

Sejong the Great King of Korea

Sejong the Great (May 6, 1397 – May 18, 1450, r. 1418 - 1450) was the fourth king of the Joseon Dynasty of Korea. He is best remembered for creating the Korean alphabet hangul, despite strong opposition from the scholars educated in hanja (Chinese script). Sejong is one of only two Korean rulers posthumously honored with the appellation "the Great," the other being Gwanggaeto the Great of Goguryeo.



จักรพรรดินีชอนชู(ฮวางโบซู)

จักรพรรดินีชอนชูมีมีชื่อเดิมว่าฮวางโบซู นางเป็นหลานสาวของปฐมกษัตริย์แทโจแห่งราชวงศ์โครยอ และเป็นพระราชินีในพระเจ้าคยองจง(กษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์โครยอ)
อีกทั้งยังเป็นน้องสาวของพระเจ้าซองจง(กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์โครยอ) และเป็นพระมารดาของพระเจ้าโมกจง(กษัตริย์ลำดับที่ 7 แห่งราชวงศ์โครยอ)ด้วย

ฮวางโบชูจำต้องแตกหักกับญาติพี่น้องของตัวเองเพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน โครยอ แม้นางต้องสูญเสียทุกสิ่งที่นางรักไป แต่นางก็ยังมุ่นมั่นที่จะทำเพื่ออาณาจักรโครยอโดยไม่เคยย่อท้อ
ฮวางโบซูเกิดในปี ค.ศ. 964 นางเป็นลูกสาวของลูกชายในปฐมกษัตริย์แทโจกับพระราชินีซอนอึย เมื่อพระราชินีซอนอึย พระมารดาของนางสิ้นพระชนม์ลงอย่างกะทันหัน พระจักพรรดินีซินจองซึ่งมีศักดิ์เป็นพระอัยยิกา(ย่า)จึงได้รับนางและน้องสาว มาเลี้ยงดู

โดยองค์ชายวังชี พี่ชายที่ถูกเลี้ยงดูมาด้วยกันก็คือพระเจ้าซองจง กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์โครยอนั่นเอง นอกจากนั้นฮวางโบซอลหรือพระราชินีฮอนจองน้องสาวของฮวางโบซูยังเป็นผู้ให้ กำเนิดพระเจ้าฮยอนจง กษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์โครยออีกด้วย แม้ฮวางโบซูจะมีศักดิ์เป็นเจ้าหญิงผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ แต่นางก็กลายมาเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของเกาหลีในที่สุด
นับตั้งแต่นางพบกับคังโจ(ข้าราชบริพารฝ่ายทหาร) และคังกัมชัน(นายพลที่มีความสามารถ) ฮวางโบซูก็เริ่มมีความมุ่งหวังอันยิ่งใหญ่ที่จะรวมชาวโกคูรยอ, ชาวพัลแฮ และชาวชิลลา เข้ามาอยู่ในอาณาจักรโครยอ ภายใต้การปกครองอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

Empress Chun Chu

The drama is about the third empress of the Goryeo era who fought against the Tungusic people of Manchuria in order to achieve their dream of reclaiming their old land.


Empress Cheonchu

Empress Cheonchu and Kim Chi-yang to overthrow Mokjong of Goryeo . King Mokjong is known for his reform of the Jeonsigwa (land-allotment system), and for a plot by his mother,Empress Cheonchu and Kim Chi-yang to overthrow him. In the course of the turbulent events surrounding the plot, Mokjong was dethroned and sent into exile in Chungju. However, he was slain before he arrived there. Mokjong's tomb was known as Gongneung, but its present location is not known.


Queen Seon Duk of Silla (ราชินีซงดุกที่เป็นราชินีคนแรกของชิลลา)

กษัตริย์จิงเปียวไม่มีลูกชายที่จะให้สืบทอดบัลลังก์ของเขา ดังนั้นเขาจึงตั้งให้ลูกสาวคนโตของเขา "องค์หญิงดุกมัน" มาเป็นรัชทายาทของเขา ละครเรื่องนี้จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับองค์หญิงองค์นี้ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นราชินีซงดุกที่เป็นราชินีคนแรกของชิลลา

King Jinpyeong did not have any sons to name as a successor to his throne. Thus he named his daughter, Princess Duk Man, to be his successor. The drama will be about the life of Princess Duk Man who was later known as Queen Seon Duk, the first Queen of Silla.

Queen Seondeok of Silla

Seondeok (Sŏndŏk) reigned as Queen of Silla, one of the Three Kingdoms of Korea, from 632 to 647. She was Silla's twenty-seventh ruler, and its first reigning queen.

In 634, Seondeok became the sole ruler of Silla, and ruled until 647. She was the first of three female rulers of the kingdom (the other two being: Jindeok of Silla and Jinseong of Silla), and was immediately succeeded by her cousin Jindeok (Chindŏk), who ruled until 654.
Sondok's reign was a violent one; rebellions and fighting in the neighboring kingdom of Baekje filled her days. Yet, in her fourteen years as queen of Korea, her wit was to her advantage. She kept the kingdom together and extended its ties to China, sending scholars there to learn. Like Tang's Empress Wu Zetian, she was drawn to Buddhism and presided over the completion of Buddhist temples.

She built the "Tower of the Moon and Stars," or Cheomseongdae, considered the first observatory in the Far East. The tower still stands in the old Silla capital of Gyeongju, South Korea.



Princess Ja Myung Go (องค์หญิงจามยองโก)

ตำนานกล่าวไว้ว่าเมื่อกว่า 2,000 ปีก่อน อาณาจักรนังนังมีกลองศํกดิ์สิทธิ์
ชื่อจามยอง (จามยองโก) ซึ่งสามารถส่งเสียงดังได้เองเมื่อมีข้าศึกมารุกราน
แต่ในความเป็นจริง จามยองโก ไม่ใช่กลอง แต่คือลูกสาวของพระราชา องค์หญิงจามยองโก

องค์หญิงจามยองและองค์หญิงนักรังเกิดในวันและเวลาเดียว ทั้งคู่เกิดจากพระบิดา
องค์เดียวกันแต่ต่างมารดา มีคำทำนายว่าองค์หญิงองค์หนึ่งจะเป็นผู้กอบกู้ประเทศชาติ
ในขณะที่อีกองค์หนึ่งจะเป็นผู้ทำลายอาณาจักรทั้งอาณาจักรลง
มารดาขององค์หญิงนักรังใช้อำนาจของครอบครัวที่มีอยู่โน้มน้าวให้ทุกคนเชื่อว่า
บุตรสาวของนางคือคนที่จะกอบกู้ประเทศ
ในขณะที่องค์หญิงจามยองซึ่งถูกตราหน้าว่าเป็นคนที่จะทำให้ประเทศประสบกับหายนะ
หนีรอดจากความตายมาได้โดยความช่วยเหลือของมารดา และเติบโตขึ้นมาในฐานะสามัญชน
เมื่อนางทราบถึงฐานะที่แท้จริงของตนเอง องค์หญิงจามยองเดินทางกลับสู่อาณาจักรของนาง
ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ

องค์หญิงจามยองและองค์ชายโฮดงแห่งอาณาจักรข้าศึกโกคุรยอตกหลุมรักกัน
แต่ชะตาลิขิตไม่ให้ทั้งคู่ได้สมหวัง องค์หญิงนักรัง ที่หลงรักองค์ชายโฮดงอยู่เช่นกัน
จงใจมอบอาณาจักรของตัวเองให้กับเขาโดยการทำลายกลองศักดิ์สิทธิ์ลง
องค์หญิงจามยองที่ต่อสู้เพื่อกอบกู้อาณาจักรของนาง สุดท้ายได้แทงดาบไปที่หัวใจ
ขององค์ชายโฮดงผู้เป็นที่รัก

Legend has it that more than 2000 years ago, the Kingdom of Nangnang possessed a mystical Ja Myung Drum (Ja Myung Go) which will sound by itself when enemies invade. In reality, Ja Myung Go does not represent the drum but instead, is embodied by the King's daughter, Princess Ja Myung. Princess Ja Myung and Princess Nak-Rang are born on the same day and time to the same father but different mothers. It is predicted that one princess will become the nation's savior while the other will bring the entire nation down. Using her family's powerful background, Princess Nak-Rang's mother successfully establishes her daughter as the savior princess while Princess Ja Myung, who is branded the princess of destruction, escapes death with the help of her mother and grows up among the common folk. When she learns of her true identity, Princess Ja Myung returns to her Kingdom, resulting in a new wave of internal politics and power struggles. Princess Ja Myung and Prince Hodong of the rival state of Goguryeo fall in love but fate has it that they cannot be together. Princess Nak-Rang, who is also in love with the Prince, willingly gives her nation up to him by destroying her Kingdom's mystical war drum. Princess Ja Myung, fighting to save her nation, finally pierces her sword towards her beloved Prince Hodong...

The Real Love Story of Prince Hodong of Goguryeo

Prine Hodong is son of King Daemusin, King Daemusin strengthened central rule of Goguryeo and expanded its territory. He annexed Dongbuyeo and killed its king Daeso in 22. Along the Amnok River, he conquered Gaema-guk in 26, and later conquered Guda-guk.
After fending off China's attack in 28, he sent his son, Prince Hodong, to attack the Nangnang Commandery in northwestern Korea in 32. He destroyed Nangnang in 37. The legendary love story of Prince Hodong and Princess of Nangnang, recorded in the Samguk Sagi, is well known in Korea to this day. The princess is said to have torn the war drums of her castle, so that Goguryeo could attack without warning.

http://www.popcorn2.com/

http://www.newworldencyclopedia.org/

http://en.wikipedia.org/

http://www.chinahistoryforum.com/index.php?showtopic=1898&mode=threaded

Roytavan@Copyright


ขอขอบคุณทีมงานแปล Yi San - Team@popcorn2 (Thailand)

zwani.com myspace graphic comments

ขอขอบคุณทีมงานแปล เรื่อง Yi San ด้วยนะคะ และต้องขอชื่นชมจริง ๆ
ที่แปลภาษไทยได้ดีมาก โดยเฉพาะคุณ ...khanakham...

เนื่องจาก TWSSG TEAM & BTF ได้นำเอาภาพซึ่ง Capture
จากแผ่น DVD ซึ่งมีซับไทย แปลโดยทีมงาน
Yi San - Team@popcorn2 [Thailand]... มา upload ไว้ที่นี่


TWSSG TEAM เป็นทีมที่ทำงานเพื่อนำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้
และเป็น ...Non-Profit Web Blog ...

ด้วยเหตุนี้จึงต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งคะ..

zwani.com myspace graphic comments

***จะติดตามผลงานต่อไปนะคะ***

Roytavan & TWSSG TEAM@BTF


zwani.com myspace graphic comments

Saturday, 23 May 2009

สามกษัตริย์ประวัติศาสตร์เกาหลี โดย Amornbyj



สามกษัตริย์ประวัติศาสตร์เกาหลี

จาก บท ละคร ที่ มา on air ในบ้านเรา

1.กษัตริย์ Dongmyeongseong หรือ Go Jumong หรือ Ko Chumong ปฐมกษัตริย์ ราชวงศ์ โคคุเรียว ครองราชย์ ในปี 37 ก่อนคริสตศักราช ถึง 19 ปี ก่อน คริสตศักราช รวม 18 ปี แสดง โดย ซง อิลกุ๊ก

2. กษัตริย์ Gwanggaeto the Great หรือ Go Damdeok ( Ko Tamdok) กษัตริย์ องค์ ที่ 19 แห่งราชวงศ์ โคคุเรียว ครองราชย์ ในปี ค.ศ. 391- ค. ศ . 413 รวม 22 ปี แสดง โดย เบ ยองจุน

3. กษัตริย์ Jeongio หรือ Yi-san กษัตริย์ องค์ ที่ 22 แห่งราชวงศ์ โซซอน ครองราชย์ ใน ปี ค.ศ. 1776-1800 รวม 24 ปี แสดง โดย ลี ซอจิน




ทั้งสาม นักแสดง ได้รับรางวัล จาก MBC DRAMAAWARDS ดังนี้


ซง อิลกุ๊ก DAESANG ในปี 2006


เบ ยองจุน DAESANG .ในปี 2007


ลี ซอจิน TOP EXCELLENCE .ในปี 2007

ละคร ทั้ง 3 เรื่อง เป็น ของ สถานีโทรทัศน์ MBC โดยมีลำดับการ on air ที่ ประเทศเกาหลี ดังนี้

1.จูมง

ออกอากาศ วัน จันทร์ และอังคาร ตั้งแต่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ถึง 6 มีนาคม 2550 มี 81 ตอน
และมาออกอากาศที่บ้านเราเร็วมาก คือ 28 เมษายน 2550 - 22 ธันวาคม 2550

2.The legend

ออกอากาศ ที่ประเทศเกาหลี วัน พุธ และพฤหัสบดี 11 กันยายน 2550- 5 ธันวาคม 2550
มี 24 ตอนและมาออกอากาศที่บ้านเรา เมื่อ 19 เมษายน 2551

3.ลีซาน

ออกอากาศที่เกาหลี วัน จันทร์ และ อังคาร ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2550- 16 มิถุนายน 2551 มี 77 ตอน และออกอากาศที่บ้านเรา ตั้งแต่ 20 ธันวาคม 2551 จนปัจจุบัน

ทั้งสามเรื่องนี้ ดิฉัน ไม่ได้ ดู จาก สถานีโทรทัศน์ บ้านเราเลย โดย เฉพาะ the legend ดู จาก real time พร้อมแฟนคลับ คุณ เบ ยองจุนที่เกาหลี แล้ว มาตาม ดู จากแผ่น ที่ผู้มีอุปการคุณ กรุณาอภินันทนาการ แปล ซับไทเทิล ไทย ลงแผ่นมาให้ หลัง การ ออกอากาศในขณะนั้น 2-3 วัน ของแต่ละตอน ส่วน จูมง ก็ ดู ไล่หลัง กับ the legend แต่เพราะใจจดจ่อ กับ the legend ก็ทำให้ ดู ไม่ละเอียด และ ลีซาน ก็ ดู ได้แค่ตอน ที่ 54 เมื่อ ประมาณ กลางปี 2551 ครั้นจะมาย้อนดูใหม่ คงไม่ทันการณ์ กับการบ้าน ของ คุณ ร้อยตะวัน ต้องขออภัย ที่ ส่งการบ้าน จาก ความทรงจำ ที่เลือนรางไปเสียแล้ว ด้วย กาลเวลา และ ดีกรี อายุ ระดับ ส.ว. ของ ดิฉันเอง



ความเห็นของดิฉัน ตามความรู้สึก ที่ได้ ดู ละคร ประวัติศาสตร์ ของ กษัตริย์ ทั้ง 3 พระองค์ นี้ ขอเริ่มจาก

1.เป้าหมาย

ของ กษัตริย์ แต่ละพระองค์ ที่ ทรง ปฏิบัติพระราชกิจ แตกต่างกันทั้ง 3 พระองค์

กษัตริย์ จูมง

ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โคคุเรียว

ทรงต้องการสถาปนา อาณาจักรใหม่ เพื่อกอบกู้ดินแดนอันยิ่งใหญ่ ของโคโซซอน ที่ล่มสลายไป และกลาย เป็น หลายๆ อาณาจักร และมี อาณาจักรใหญ่ ในขณะนั้น คือ พูยอ เป็นต้น แน่นอนว่าพูยอ ย่อมต้องขัดขวาง เพราะเกรง ชาติพูยอ จะสูญสิ้นไปด้วย มีพระทัยแน่วแน่ ที่จะขับไล่อิทธิพล ของ จีน ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น ทรงต้องการให้คาบสมุทรเกาหลีพ้นจากภาวะ เป็นเมืองขึ้นของฮั่น
ก่อนสถาปนา อาณาจักร โคคุเรียว และเป็น ปฐมกษัตริย์แล้ว ทรงมีแต่การสงคราม
สงครามเพื่อ การรวม อาณาจักร สร้างชาติใหม่ สงครามเพื่อขับไล่อิทธิพล ฮั่น ดังนั้น การรบจะมีทั้งบุกไปขับไล่และตั้งรับ ไม่ทรงมีเวลาในการจัดระเบียบการปกครองภายในอาณาจักร การสร้างอาณาจักรใหม่ส่วนหนึ่ง มาจากการรวมชาติ ที่ใช้สันติวิธี หาแนวร่วมขับไล่ฮั่น บรรดาแคว้นใหญ่น้อยที่เข้าร่วม เป็นเสมือนเครือญาติมีแคว้นใหญ่ 5 แคว้น แต่ละแคว้นมีกองกำลังของตนเอง กษัตริย์ ไม่ได้มีอำนาจ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เป็นการใช้ระบบความร่วมมือ

กษัตริย์กวางแกโต

กษัตริย์ องค์ที่ 19 แห่งราชวงศ์ โคคุเรียว

ทรงมีเป้าหมาย ขยายดินแดน ละคร จะสื่อ ว่า ทรงต้องการรวบรวม แผ่นดินที่กระจัดกระจาย เมื่อตอน โคโซซอน ล่มสลาย (ในละคร คือ แผ่นดินจูชิน ) ขอใช้คำว่า แผ่แสนยานุภาพ ให้อาณาจักรเกรียงไกรหลังจากทรงปราบปราม อาณาจักร บ้านพี่เมืองน้องที่กลายเป็นศัตรู คือ แพคเจ ที่เคยบุกรุกเข้ามาที่โคคุเรียวและฆ่า กษัตริย์ โคคุเรียว ทรงผูกไมตรีกับ ชิลลา ดินแดนโคคุเรียวของพระองค์ยิ่งใหญ่ไพศาล ทั้งยังทรงมีเวลาที่จะปรับปรุงการปกครอง ภายในประเทศ หลายด้าน


ช่วงเวลา ประวัติศาสตร์ ของ กษัตริย์ จูมง และ กษัตริย์ กวางแกโต ในขณะนั้น เราชาวไทย คงจะอยู่ แถบเทือกเขาอัลไตกัน กัน ใน ค.ศ . 413

สำหรับไทยเรา พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงก่อตั้งกรุงสุโขทัยในปี ค.ศ. 1249 (พ.ศ. 1792 ) จนอาณาจักรโคคุเรียว ล่มสลาย ใน ค.ศ. 668 เรา ก็ยังอยู่ไหนกันไม่รู้

ชนชาติ ที่น่ากล่าวถึง คือฮั่น
ฮั่น เป็นราชวงศ์ ของจีน ระหว่างปี พ.ศ.337-763 ( 763 คือ ค.ศ 220 )
หลังจาก พ.ศ. 763 จนถึง พ.ศ.969 ( ค.ศ. 426) ตรง กับ ปลายยุค ของ กษัตริย์ กวางแกโต ต่อด้วย กษัตริย์ จางซู พระโอรส )
ราชวงศ์ของจีนยังนับเป็นราชวงศ์ฮั่น
หลังจาก ปลายราชวงศ์ฮั่นสมัย ของจักรพรรดิ เลนเต้ ราชวงศ์ฮั่น สับสน วุ่นวาย และเข้าสู่ ยุค สามอาณาจักรหรือ สามก๊ก นั่นเอง เป็นช่วง ที่ราชวงศ์ ฮั่น ไม่มีเสถียรภาพ ในขณะที่ เกาหลี รุ่งเรือง เกรียงไกรมาก
จากราชวงศ์ ฮั่น ที่เข้มแข็งเกรียงไกรจะมีราชวงศ์ จิ้น แทรก ต่อด้วยราชวงศ์ สุย และใน ค.ศ. 618 ก็เป็นการเริ่มต้น ของราชวงศ์ ถัง โดย หลี่หยวน หรือพระเจ้า ถังเกาจู และ ใน ค.ศ. 668 โคคุเรียว ก็ล่มสลาย ต้องส่ง เครื่องราชบรรณาการในฐานะ เมืองขึ้น ให้กับราชวงศ์ ถัง


กษัตริย์ จองโจ


กษัตริย์ องค์ที่ 22 แห่งราชวงศ์ โซซอน (ค.ศ. 1776-1800 )( พ.ศ .2319-2343 )

กรุงศรีอยุธยา ล่มสลาย ในปี 2310 ( ค.ศ. 1767)
ต่อ ด้วย กรุงธนบุรี ค.ศ.1767-1782
กรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 1(ปี ค.ศ.1782-1809)

แผ่นดินสมัยของ กษัตริย์ จองโจ ตรงกับปลายช่วง กรุงธนบุรี และต่อ กับรัชกาลที่ 1 แห่ง ราชวงศ์ จักรี ในไทย ยุ่งเหยิงวุ่นวาย กับการ กู้อิสรภาพ จากพม่า ตั้ง ราชธานีใหม่ 2 ราชธานี มี 2 ราชวงศ์ และ ทำสงคราม กับพม่า ลาว ญวน อย่างต่อเนื่อง

จากละคร Yi-San ที่พอจำได้


กษัตริย์ จองโจ ตั้งพระทัยมั่น ในการสานต่อ การปฎิรูป บ้านเมือง ต่อจากพระอัยกา กษัตริย์ยองโจ

ทรงสนพระทัยในความเป็นอยู่ของราษฎร สนพระทัยในการหาความรู้ ของชาวตะวันตก

เพราะบ้านเมืองสงบ ไม่มีสงครามภายนอก ก็เลย มีเวลา แย่งชิง อำนาจ ภายในกันเอง ระหว่างเชื้อพระวงศ์ ด้วยกัน ระหว่าง ขุนนางและขุนนาง ด้วยกัน ที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายโชรน และ โนนน รวมทั้งพระเจ้าจองโจเอง ที่ต้องชิงอำนาจการปกครอง จากเหล่าขุนนางเอง


ทั้งสามกษัตริย์ ของเกาหลี กษัตริย์ จองโจ จึงมี พระราชกิจ ที่แตกต่าง กับ กษัตริย์ จูมง กษัตริย์กวางแกโต และเป็น ยุค ที่ทันสมัย ใน ศตวรรษ ที่ 18 แล้ว เริ่มรับอารยะธรรมชาวตะวันตก รวมทั้งศาสนาคริสต์ เข้ามาอาณาจักรโซซอน



ดังนั้น ทั้งสามนักแสดง ที่รับบท สามกษัตริย์ ก็ มีความแตกต่างบ้าง ละม้ายคล้ายกันบ้างในบางเรื่อง ที่บทละคร พาไป ลองนึก ดูว่า หาก ให้

ซง อิลกุ๊ก รับบท ทัมด๊ก หรือ ลีซาน
เบ ยองจุน รับ บท จูมง หรือ ลีซาน
ลี ซอจิน รับ บท จูมง หรือ ทัมด๊ก

แล้วละคร จะออกมา ยังไง น่าจะดู แปลกๆ มากกว่าดี เพราะ ระดับ ผู้ กำกับ ได้ ไตร่ตรองมาอย่างดี สำหรับการคัดเลือกนักแสดง ที่เข้ากับบทบาทกับกษัตริย์ แต่ละพระองค์


โดย เฉพาะ ทัมด๊ก บทบาทจริยาวัตร ขององค์ชาย ทัมด๊ก เหมือน เอา เบ ยองจุน เป็นตัวตั้ง แล้วเขียนบทละคร ไปตาม คาแรคเตอร์ ของ ยงจุน เสียมากกว่า


2..สิ่งที่คล้ายคลึงกัน ของ สามกษัตริย์ น่าจะเป็น พระชนม์ชีพ ในขณะ เยาว์ชันษา คือ มีความกดดันจากรอบๆ พระองค์ แม้จะต่างสถานการณ์ กัน


องค์ชายจูมง


ในฐานะ พระโอรสจากพระสนม ยูฮวา ของพระเจ้ากึมวา แม้พระบิดา ( พระบิดาเลี้ยง จะรักใคร่ แต่ เป็นที่ อิจฉา ริษยา จาก พระมเหสี และ องค์ ชาย องค์ อื่นๆ) จูมง ถุก กลั่นแกล้ง เสมอ สถานะองค์ชายของ จูมง ครึ่งๆกลางๆ คล้ายเด็กๆ ทั่วไป ผสมกับชีวิต องค์ชาย การศึกษาด้าน วิชาการต่อสู้ ที่ได้ความรู้จริงจังมา ต้องไปเรียน กับแฮมูซู บิดาที่แท้จริงโดยต่างไม่รู้จักกันว่าเป็นพ่อ-ลูก การศึกษา ด้าน วิทยาการความรู้ อื่นๆ ในฐานะ องค์ชาย แทบไม่มี องค์ชายจูมง จะใกล้ชิดพระมารดามาก ได้รับรู้ ถึงความรักของพระมารดามากกว่าองค์ชาย ทัมด๊ก และองค์ชาย ลีซาน


องค์ชาย จูมง ดูขาดความเชื่อมั่น ไม่เฉลียวฉลาด และน่าจะได้ความรู้สึกอ่อนโยน ละเอียดอ่อนในดวงหทัยติดมา จากพระสนม ยูฮวา แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่
องค์ชายจูมง ต้องลองถูก ลองผิด ถึงขั้นล้มลุกคลุกคลานอยู่บ่อยครั้ง แต่ทรงมีฝีมือทางการต่อสู้ เป็นพรสวรรค์ โดยเฉพาะการใช้ธนู และพระทัย ที่แข็งแกร่งไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรค ตั้งมั่น ดั้นด้นค้นหา หนทางไปสู่ ความสำเร็จ บ้าบิ่น กล้าเสี่ยง จนไม่กลัวตาย ( ในตอนที่ยอมไปหาหัวหน้า โชลบน ที่มาแย่งตำแหน่งไปจากซอซอนโน เพื่อเกลี้ยกล่อมให้ มาร่วมต่อต้านฮั่น การแสดงความจริงใจ อย่างองค์ชาย จูมง น่ากลัวมาก)


การตั้ง อาณาจักร โคคุเรียว มีแนวร่วม ของ คนดี มีฝีมือ มี ปณิธานร่วมเพื่อ ขับไล่ฮั่น ตั้งอาณาจักรใหม่ เป็น แรงจูงใจ ให้ มีคนมาภักดี มากมาย จนตั้งเป็นกองกำลังได้ เป็นกองกำลังที่มีจุดมุ่งหมายอันสูงส่ง มิใช่ ด้วย ค่าจ้าง


แต่ ปัจจัยแค่นี้ไม่เพียงพอกับความสำเร็จ มีบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วย องค์ชาย จูมง ให้ บรรลุเป้าหมาย คือ ซอซอนโน และบิดา ซอซอนโนคือ ยอนทาบัล ซึ่งมีทั้งกำลังทรัพย์ และสติปัญญา



องค์ชาย ทัมด๊ก

ตั้งแต่ ประสูติ จน 11 ชันษา ทรงอยู่นอกวังกับพระบิดา
เมื่อ เข้าวัง และพระบิดา ขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็อยู่ในฐานะองค์ชาย รัชทายาท แต่ก็มีความกดดัน ในการที่ต้องเสแสร้งเป็นรัชทายาท ที่ อ่อนแอ ไม่สนพระทัย การ เรียน การเมือง การปกครอง การเรียนรู้ วิทยาการต่างๆ แล้วต้องแอบศึกษาและฝึกหัด อย่างจริงจัง เข้มงวด โดย มี พระอาจารย์พิเศษด้านต่างๆ ต่างหาก ต้องปิดบัง อัจฉริยะส่วนพระองค์ ว่ามีความชื่อมั่น ในพระองค์เอง เฉลียวฉลาด มีความสามารถในเชิงต่อสู้ มีชีวิตส่วนพระองค์ ที่ต้องเก็บพระองค์ เงียบเหงา ว้าเหว่ ไม่มีเพื่อนๆในวังทั้งที่ จริงๆ เป็น เด็กซุกซน ขี้เล่น จนต้อง ปีนรั้ววังออกไปใช้ชีวิต เด็ก ธรรมดา ในตลาด มาตลอด
เมื่อขึ้นเป็นกษัตริย์ ทัมด๊ก จึงเป็นกษัตริย์ ที่ใกล้ชิด กับ แม่ทัพ นายกอง ไปจนถึงทหารชั้นผู้น้อยของพระองค์


ทัมด๊ก ไม่มีพระมารดา แต่ ก็ ใกล้ชิดสนิท สนม กับพระบิดา และ มีอาจารย์ ที่ใกล้ชิดและรักองค์ชายมาก คือ ขุนพล โกอูชง


ทัมด๊ก เป็นองค์ชาย ที่อ่อนโยน เพราะการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด จากพระบิดาที่เป็นองค์ชายนอกวัง ใช้ชีวิตแบบสามัญชนมาถึง 11 ปี เป็นพระบิดาที่เสียสละทุกอย่าง เพื่อการขึ้นเป็นกษัตริย์ของทัมด๊ก พระบิดาแม้เป็นกษัตริย์ แต่ไม่ทรงมีอำนาจกษัตริย์ที่แท้จริง มีกำลังทหารเพียงทหารราชองครักษ์ ของขุนพล โกอูชง

ทัมด๊ก เฉลียวฉลาดมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ สถานการณ์ ที่มีเหตุผล และลึกซึ้งฉายชัด


ทัมด๊ก เป็น องค์ชาย ที่มีความเชื่อมั่น ในพระองค์เอง สูงมาก ตั้งแต่เยาว์ชันษา

ทัมด๊ก เป็น นักเจรจาต่อรองชั้นเยี่ยม ผลการเจรจา ทั้งสองฝ่าย ต่างพึงพอใจในข้อเสนอที่ยื่น ผลประโยชน์ที่ต่างได้รับ ต่างฝ่ายต่างได้ทั้งสองฝ่าย เป็นนักวางแผนนกลยุทธ์



องค์ชาย ลีซาน

มีพระชนม์ชีพ ของการเป็นองค์ชายที่ กดดัน เสี่ยงกับ พระพิโรธของพระอัยกาถึงขั้นประหารชีวิต บ่อยครั้ง สถานะของการเป็นองค์ชายรัชทายาท ไม่มั่นคง การศึกษาวิชาความรู้ของการเป็นกษัตริย์ในอนาคต ทรงได้รับอย่างเต็มที่ แต่บททดสอบจะรุนแรงบ่อยครั้งจากพระอัยกา หากจะเทียบ ชีวิตในขณะเยาว์ชันษาแล้ว องค์ชาย ลีซาน อยู่ ปากเหว ที่มีคนคอยจ้องผลักให้ ตกเหว ตลอดเวลา เป็น องค์ชายที่โดดเดี่ยว แทบไม่ได้รับความรัก ความใกล้ชิด จาก ทั้งพระอัยกา และพระมารดา ทั้งที่แท้จริงแล้ว ทรงเป็นที่รักของทั้งสองพระองค์

ละคร จะสื่อ ความรักความเอ็นดู ความใกล้ชิดสนิทสนมของพระบิดา องค์รัชทายาท ชาโด แต่ เมื่อสิ้นพระบิดา องค์ ชาย ลีซาน เหมือน ถูกทิ้งให้ดำเนินชีวิตของพระองค์ เดียวดายมาก และแน่นอนว่า ไม่ทรงมีเพื่อนเล่น เป็นองค์ชาย ที่เครียด กับการเป็นองค์ชายรัชทายาท ที่สุด


เมื่อลีซาน ขึ้นเป็นกษัตริย์ ในขณะ ที่พระอัยกา ยังมีพระชนม์อยู่ ก็ ยังคงเป็น กษัตริย์ ที่มีแรงกดดัน ภายใต้พระอัยกา เมื่อสิ้นพระอัยกา ก็ มีแรงกดดัน จาก เหล่าขุนนาง



ทั้งสามพระองค์เมื่อ ขึ้นเป็นกษัตริย์


ทุกพระองค์ ก็ ตั้งมั่น ที่จะปฏิบัติ พระราชกิจ ที่ตั้งพระทัยไว้ และทุกพระองค์ ก็ บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งพระทัยไว้
บทบาท การเป็นกษัตริย์ ก็ เป็น สิ่งที่สะสมไว้ ใน ขณะ เยาว์ชันษา


แต่ที่ทั้งสามพระองค์ มีเหมือนกัน คือ บุญญาภินิหาร(บุญที่สำเร็จได้ตามความปรารถนา) รวมกับ บุญญานุภาพ ( อำนาจแห่งบุญ)
องค์ชาย จูมง และองค์ชาย ลีซาน ทรงรอดพ้น สถานการณ์ที่ถึงขั้นต้องสิ้นพระชนม์ จนต้องใช้คำว่า ยังกับเรื่องนิยาย หลายครั้งหลายหน นั่นก็ เพราะ บุญ รักษา เพื่อให้พระองค์จะต้องได้เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ในกาลข้างหน้า นั่นเอง ส่วน องค์ชาย ทัมดั๊ก ละคร สื่อ ไว้แล้ว ว่า ทรงเป็น เทพ อวตารลงมา

รักของกษัตริย์ สามพระองค์ จะ มี รักของ กษัตริย์ จองโจ ที่ลงรายละเอียด มากกว่า ของ กษัตริย์ จูมง และกษัตริย์ กวางแกโต สองพระองค์ หลัง เป็น กษัตริย์นักรบ แต่ กษัตริย์ จองโจ เป็น กษัตริย์นักปกครอง



3. ที่ปรึกษา หรือกุนซือ ของกษัตริย์


ยุคของกษัตริย์ จูมง

เหล่าบรรดา ข้าราชบริพาร แม่ทัพ ต่างๆ ของ กษัตริย์ จูมง ล้วนมาจาก ชาวยุทธ์ ธรรมดาที่ เก่งกล้าสามารถในเชิงรบ เชิงต่อสู้ มากกว่า การใช้แผนกลยุทธ์ หรือ ศึกษาการรบจาก ตำราพิชัยสงคราม แผนการรบ ก็ได้จากค่อยๆสั่งสมประสบการณ์ บวก กับ กำลังใจที่แข็งแกร่ง ใจกล้า ไม่กลัวตาย
มีเพียงยอนทาบัล ที่ใช้ประสบการณ์จากการค้าขาย การเรียนรู้อุปนิสัยใจคอ ของคู่ค้า ในระดับหัวหน้าเผ่าต่างๆ รู้จุดอ่อนจุดแข็ง ใช้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ มาเป็นข้อต่อรอง มาให้คำปรึกษา แก่ ซอซอนโน และ กษัตริย์ จูมง เข้าตำรา พิชัยสงคราม ว่า รู้เขา รู้เรา ถือได้ว่า เป็น เสนาบดีใหญ่ ของ โคคุเรียว ที่สถาปนาขึ้นใหม่


ยอนทาบัล เป็นคนที่รู้จัก ถอยหนึ่งก้าว ในสถานการณ์ ที่ควรต้องถอย เป็นคนสุขุม รอบคอบ ไม่ยึดติดกับหัวโขนหรือตำแหน่ง เมื่อ ยกตำแหน่ง ผู้นำ แคว้น เครุ ให้ ซอซอนโน แล้ว ก็ วาง ตัวเป็นแค่บิดา เป็นแค่ผู้ให้คำแนะนำปรึกษา เมื่อผู้นำคนใหม่ต้องการ ยอมรับการตัดสินใจของผู้นำ เป็นผู้ช่วยเหลือ และด้วยความรักของพ่อ ยอนทาบัล จึง ต้องตัดใจ ยอมให้ ซอซอนโน เป็นเพียง ราชินี ของโคคุเรียว แทนที่จะคิด รวบอำนาจของโคคุเรียว ไว้ เป็น ของแคว้นเครุ และภายหลังก็ ติดตามซอซอนโน ไปตั้งอาณาจักรใหม่ ลูกต้องการอย่างไร พ่อไม่ขัด
จูมง จะมีแม่ทัพ ซ้าย และ แม่ทัพขวา (ที่ลืมชื่อไปแล้ว) เป็นขุนศึกคู่พระทัย เคียงข้างในสนามรบ ตลอดมา


ยุค กษัตริย์ กวางแกโต

ฮยอนโก
ผู้นำของหมู่บ้านโคมิล มีความรอบรู้ในศาสตร์ต่างๆหลายแขนง ทั้งการแพทย์ การปกครอง การรบ การวางแผนกลยุทธ์ เป็นอาจารย์สอนการเป็นกษัตริย์ที่ดีให้กับทัมด๊ก มีความจงรักภักดีเต็มเปี่ยมในหัวใจ ไม่หวังผล ทั้งตำแหน่ง ความเป็นใหญ่ รวมทั้งอำนาจ เนื่อง จากละครเขียนให้ ฮยอนโก คือ ผู้ติดตาม ผู้พิทักษ์ กษัตรย์ จูชิน ที่จุติ จากสวรรค์ อวตารของเทพฮวันอุง ลงมาเป็น ทัมด๊ก ซึ่งในโลกมนุษย์จริงๆแล้ว คงไม่มีใคร มีบุญอย่างทัมด๊ก ที่จะมี กุนซือ อย่างฮยอนโก รอบรู้สารพัดไปหมด ก็เพราะ มาจากเทพผู้พิทักษ์ ลงมาจากสวรรค์ ก็ขอข้าม ฮยอนโก ไป เพราะคงไม่มีตัวตนแบบนี้จริงในโลกมนุษย์


ที่หมู่บ้านโคมิล พร้อมสรรพด้วยวิชาความรู้ ทุกแขนง ตั้งแต่ ไม้จิ้มฟัน ยันเรือรบ ประมาณนั้น
นอกจากนี้ทัมด๊ก ยัง มี แม่ทัพฮีกแก หัวหน้าแคว้น จุนโน อีก คนด้วย ทั้งฮยอนโก และฮีกแก ได้แต่รวบรวมเสนอ ข้อมูลต่างๆ ถวาย ทัมด๊ก ส่วนการตัดสินพระทัย ของทัมด๊ก มักจะสวนทางกับ ความเห็นของ กุนซือ ฮีกแก เสมอๆ ฮีกแก มิใช่ เทพผู้พิทักษ์ แต่ มีความจงรักภักดี กับ กษัตริย์ โคคุเรียว
ทัมด๊ก มี จูมูชิ ชอโร เป็น ขุนศึก แม่ทัพ ซ้ายขวา รวมทั้ง มี ขุนพลโกอูชง และซูจินี อีก 2 ขุนศึกด้วย มี ฮยอนโก ที่ไม่ได้มีความสามารถ ในการใช้อาวุธ แต่เป็น เสนาธิการทหาร


ยุคกษัตริย์ จองโจ


ฮงกุกยอง
เป็นกุนซือของ กษัตริย์ จองโจ ที่มีบทบาท เป็นมนุษย์สามัญธรรมดาทั่วไปๆ ฮงกุกยอง เป็นคนมีความรู้ความสามารถ เดิม เป็น อาลักษณ์ จึงไม่แปลก ที่จะเป็นคนมีความคิดอ่านลึกซึ้ง จนมีรัศมีผู้รอบรู้ ฉายแววาว จน จอง ฮูกกยอม ราชเลขา ของ กษัติย์ ยองโจ พระอัยกา ของ กษัตริย์ จองโจ สนใจ และอยากได้ไว้ใช้สอย
ตามความรู้สึกในปี 2551 ดิฉัน รู้สึก ฮงกุกยอง เป็น คนที่ใฝ่หาอำนาจ เมื่อมีการประเมินสถานการณ์ ว่า หากจะเลือก อยู่ข้าง ราชเลขา จองฮูกยอมซึ่งเป็น บุตรบุญธรรม ของ องค์ หญิง ฮวาวาน คงไม่มีโอกาสข้ามหน้าข้ามตา ราชเลขาจอง ไปได้ เพราะฐานของ ราชเลขาจอง แน่นหนา มั่นคง เลื่อยไม่หัก ผลักไม่ล้ม ฮงกุกยอง จึงได้แต่ถอยออกมาดูสถานการณ์ และเลือกที่จะเข้าข้าง องค์ชาย ลีซาน หากสามารถช่วยองค์ชาย ลีซาน เป็น กษัตริย์ได้ ฮงกุกยอง ย่อมเป็นบุคคลสำคัญ ได้อยู่ข้างวรกายกษัตริย์ แม้จะยากลำบากแต่ผลตอบแทนย่อมคุ้มค่ากว่า และมีความเป็นไปได้ ที่องค์ชาย ลีซาน ซึ่งดำรงตำแหน่ง รัชทายาทในขณะนั้น จะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะเจ้าชายเชื้อพระวงศ์ องค์ อื่นๆ ยังทรงพระเยาว์ ( องค์ ชาย ลีซาน ยังมี พระอนุชา ต่างพระมารดา อีก 2 องค์ แต่ มีพระชนม์ ห่างกับ องค์ชาย ลีซาน มาก)
และเมื่อเลือก องค์ชาย ลีซานแล้ว ฮงกุกยอง ก็ มีความจงรักภักดี และ พยายามใช้ความรู้ความสามารถ ทั้งหมดที่มี สนองพระกรุณาธิคุณ แล้ว ในที่สุด สิ่งที่อยากได้ องกุกยอง ก็ได้มา คือ อำนาจ ซึ่งเป็น กิเลศอันอุดม เพียบพร้อม ด้วย โลภะ โทสะ และโมหะ
คุณธรรมของ ฮงกุกยอง เริ่มสูญหาย เมื่อ น้องสาว ได้ เข้ามาเป็นพระสนม และเพื่อ ช่วยปกป้อง พระสนม ฮงกุกยอง ก็เริ่ม มีรัศมีชั่วร้าย ยิ่งเข้าใจผิด คิดแก้แค้นให้พระสนม ที่เสียชีวิต หลังจากเข้าวังมาเป็นพระสนม ได้ เพียง 2 ปี ฮงกุกยอง ก็ เริ่มเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กระทำการ อันส่งผลให้ ตัวเองหมดอำนาจวาสนา จนที่สุด ถูกเนรเทศ และเสียชีวิตด้วย วัยเพียง 33 ปี

แต่สิ่งที่ ฮงกุกยอง ไม่ได้ เลือนหายหรือเสื่อมคลายไปเลย จนวันสิ้นชีวิต คือ ความจงรักภักดี ต่อ กษัตริย์จองโจ
ฮงกุกยอง มีส่วนช่วย กษัตริย์ จองโจ เป็นอย่างมาก ในการปฎิรูปการปกครอง ความเป็นอยู่ของราษฎรชาวโซซอน ได้ ใช้ความรู้ความสามารถ บวกด้วยความทุ่มเท น่าเสียดายที่คิดผิด ยอมให้น้องสาว เข้าวังมาเป็นพระสนม ทำให้ ชีวิตของ ฮงกุกยอง หันเหออกไปสู่หายนะ




4. ตามความรู้สึก ดิฉัน มีนิยาม ให้ กับละคร ทั้งสามเรื่อง

เรื่องจูมง คือ รักชาติ
เรื่อง the legend คือ บารมี
เรื่อง ลีซาน คือ อำนาจ


อำนาจ

กิเลศ ตัวร้าย ที่โลกมนุษย์ ปั่นป่วน มาตั้งแต่ ยุคโบราณ มาจนทุกวันนี้ ยากจะขุดทำลาย หรือไถ่ถอนออกจากจิตใจ ของผู้ใฝ่หา ไม่ต้องย้อนประวัติศาสตร์หลับตามองภาพ เพราะยุคปัจจุบัน ก็ มีความรุ่นวาย อันเกิดจากโมหะจริต ของผู้ ต้องการ อำนาจ ให้ มองเห็นเด่นชัด ด้วย สองตา ตัวเอง ด้วย ความรู้สึกจากการสัมผัสเหตุการณ์ หรือด้วยกระแสข่าวที่หลั่งไหลมาทุกวี่วัน

ในรัชสมัยของ กษัตริย์ ยองโจ และกษัตริย์ จองโจ เป็น การแย่งชิงอำนาจที่เด่นชัด นับแต่ พระมเหสีองค์ที่สองของ กษัตริย์ ยองโจ องค์หญิง ฮวาวาน
องค์ชาย ลีซานที่ต้องปกป้องพระองค์เองไม่ให้ ถูกแย่งอำนาจไป
อำนาจในการปกครองของเหล่าขุนนาง การแบ่งฝ่าย 2 ฝ่ายของขุนนาง

ตัวอย่างที่น่าสลดใจของผู้ได้อำนาจ ใช้อำนาจที่ผิดทาง จน สูญเสียอำนาจ ของ พระมเหสีกษัตริย์ ยองโจ องค์หญิง ฮวาวาน ราชเลขาจอง ราชเลขา ฮงกุกยอง
การแย่งอำนาจ หากภายนอกสงบดี ก็ต้องมีการแย่งอำนาจภายในกันอย่าง ละคร Yi-San เพราะมีเวลาว่างมากเกินไป
แต่ก็มีบางยุคสมัย ที่ ต้องต่อสู้ กับอำนาจ ภายนอก ทั้งแก่งแย่ง อำนาจกันภายใน เราเองก็มียุค ของ อยุธยามาให้เห็น ช่างน่าเศร้า จริงๆ

ขอ ยกตัวอย่าง เรื่องอำนาจ ที่ไม่เกี่ยวกับ ละคร ทั้ง 3 เรื่อง
ขอยกเรื่องสามก๊ก เด่นชัดมากของการแสวงหาอำนาจ และเมื่อได้อำนาจมาแล้ว อำนาจ ก็เปลี่ยนคน ให้ เป็นคนละคนกันได้
เช่น เล่าปี่ เป็นต้น เล่าปี่ ในฐานะ พระเจ้าอา มี ขงเบ้งเป็นกุนซือ เล่าปี่ จะเชื่อฟัง กุนซือ ขงเบ้งมาก ต่อมาภายหลัง เมื่อถูกยกเป็นฮ่องเต้ จาก ก๊กของพระองค์เอง เล่า ปี่ ก็ เริ่มไม่เชื่อคำแนะนำของขงเบ้ง จนทำให้เสียการ โอรสของเล่าปี่ที่รับอำนาจต่อมา ก็ เช่นกัน เพราะ อำนาจ พาให้หลง งง งวย ได้อำนาจแล้วก็หลงว่าตัวเองเก่งแล้ว ไม่ฟังใคร

พระนางบูเซ็กเทียน ที่ต้องแสวงหาอำนาจ ถึงขั้น ยอม ฆ่า พระธิดาองค์น้อยที่ยังแบเบาะ เพื่อแย่งอำนาจ จาก ฮองเฮา ในครั้งนั้น การแย่งอำนาจในเบื้องต้นนั้นเพื่อปกป้องตัวเอง จาก อำนาจของฮองเฮา ครั้น ได้ อำนาจมาจริง อำนาจ ของฮองเฮา ก็ไม่พอเพียง บูเซ็กเทียน ต้องแสวงหาอำนาจมากกว่านั้น เพื่อปกป้องตัวเอง จากเหล่าขุนนาง เมื่อ ยกตัวเองเป็น ฮ่องเต้หญิง ก็ ต้องรักษาอำนาจ จาก พวกกบฏ ทั้งหลาย ที่ต้องการโค่นล้ม จนกลายเป็น หวงอำนาจ ดูละคร เรื่องนี้แล้ว แม้จะสื่อว่า บูเซ๊กเทียน รักหวังดี กับประเทศชาติ นึกถึงความสุขสงบของประชาชน แต่ ที่จริงแล้ว ก็เพื่อรักษาอำนาจ ไว้นั่นเอง

บารมี

ในยุคของกษัตริย์ กวางแกโต

มีคนที่ต้องการอำนาจ คือ แทจังโร ที่ต้องการอำนาจจากสวรรค์ และยอนการยอ ที่ต้องการอำนาจให้ ยอนโฮแก เป็นกษัตริย์ ทั้งสองคน จึงร่วมมือกัน ด้วย ความต้องการเดียวกัน คือ อำนาจ อำนาจที่แบ่งสรรได้ว่า อำนาจของสวรรค์ แบ่งให้ แทจังโร อำนาจบนพื้นพิภพ ยกให้ยอนโฮแก
การแสวงหาอำนาจ ของ แทจังโร และยอนการยอ พ่ายแพ้ บารมี ของ กษัตริย์ กวางแกโต บารมีที่เสริมส่งด้วย ความจงรักภักดี ของ สี่ผู้พิทักษ์ ที่ ยอมกายถวายชีวิต ให้ ทัมด๊ก
ทั้งที่ แทจังโร มี ฤทธิ์เดชมากมาย ยอนการยอ มีอำนาจเงิน อำนาจทางทหาร รวมทั้งบารมีที่ครอบคลุมขุนนางของโคคุเรียว และผู้นำแคว้นอีก 4 แคว้น
ทั้งหมดทั้งสิ้น ต้องพ่ายแพ้ กับ บารมีของ ทัมด๊ก
ทัมด๊ก เป็นกษัตริย์ ที่มีรัศมี บารมี ติดพระองค์มา ซูจินี ที่รัก ทัมด๊ก แบบหญิงสาว รักชายหนุ่ม แต่ลึกๆ ในใจ คือรัก แบบผู้รับใช้ รักที่ ยอมถวาย ชีวิต ให้ได้

รักชาติ

ในยุค ของกษัตริย์ จูมง
การแสวงหาอำนาจ ก็มี แต่ จะถูกกลบด้วยคำว่ารักชาติ
ไม่ว่า กษัตริย์ กึมวา ที่ อยู่บนอำนาจ แต่เพราะรักชาติ พูยอ ก็ ยอม ที่จะยกอำนาจให้ องค์ชายจูมง ไม่ยกให้ พระโอรสจริง คือองค์ชาย แทโช รัชทายาทของพระองค์ ขอเพียง จูมง ไม่ สร้างชาติใหม่ให้ พูยอ เลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ และคาบสมุทรเกาหลี

เสนาบดี 3 สมัยของ พูยอ ที่มีอำนาจในพูยอ มากมาย ก็ ยอมหันซ้ายหันขวา เดี๋ยวอยู่ข้างองค์ชาย แทโช บางที ก็ อยู่ข้างกษัตริย์ กึมวา เป็นทั้งเสนาบดีไร้คุณธรรมในบางครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อ อาณาจักร พูยอ มิใช่เพื่อ อำนาจของตนเอง

องค์รัชทายาท แทโช ก็ แสวงหา อำนาจสูงสุดของกษัตริย์ กระทำการ แย่งอำนาจพระบิดา ก็อ้างรักชาติเป็นความมุ่งมั่น
ทำลายล้างองค์ชาย จูมง ก็อ้างรักชาติ เป็นมูลเหตุทั้งที่เป็นเพราะ ริษยาและเกลียดชังองค์ชาย จูมง

ซอซอนโน ก็ เป็นหญิงทะเยอทะยาน แต่ ก็แพ้ความรักที่ต่อ องค์ชาย จูมง ความทะเยอทะยาน จึงกลายเป็นความทุ่มเท ที่จะส่งเสริม อำนาจ ให้ จูมง แทนไม่ได้ใฝ่หาอำนาจให้ตัวเอง ต่อมาภายหลัง ก็ ใฝ่หา สร้างอำนาจ ให้ โอรส สองพระองค์ แทน โดยไม่ให้ร้าย กับ กษัตริย์ จูมง ใช้ วิธีแยกตัว ไปสร้างอำนาจใหม่ ในดินแดนใหม่

ยอนทาบัล เพราะร่ำรวยล้นเหลือ จึงไม่ได้ แสวงหาอำนาจมาสร้างความร่ำรวย อีก และไม่ยึดอำนาจไว้ เพราะรัก บุตรสาว ซอซอนโน ต้องการเห็นความสุข ของซอซอนโน มากกว่าสิ่งอื่น เป็นพ่อที่น่านับถือมาก
สนับสนุน ช่วยลูกทุกอย่างที่ลูก ต้องการ

5. ผลงานของกษัตริย์ สามพระองค์

กษัตริย์ จูมง สร้างอาณาจักรโคคุเรียว สำเร็จ มีอายุ ยืนยาว มาจน คริสตศักราช 668 มีกษัตริย์ สืบต่อ ราชวงศ์ Go หรือKo รวม 28 พระองค์ อาณาจักร แผ่ขยายออกไปไพศาล เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ใน ยุค กษัตริย์ จางซู พระโอรส ของ กษัตริย์ กวางแกโต แล้ว ก็ค่อยๆ เสื่อมถอย จนล่มสลาย ไปตามหลักสัจธรรม คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ล้วนเป็นของธรรมดา
และพระพุทธศาสนา ได้ เข้ามาที่โคคุเรียว ในสมัย กษัตริย์ โซซุริม พระปิตุลาของ กษัตริย์ กวางแกโต
มีการสร้างวัดพุทธ
มีศิลปะการต่อสู้ เทควันโด ในยุค โคคุเรียว

กษัตริย์ กวางแกโต
ทรงขยายอาณาเขตไปถึง แมนจูเรีย ทรงเป็นกษัตริย์ผู้พิชิต
และทรงวางรากฐานให้กับ โคคุเรียว หลายประการ ขออ้างตามละครดังนี้
ทรงแต่งตั้งขึ้นใหม่ 2 หน่วยงาน ขอลอก ข้อความที่ คุณ Gaulsan แปลมา ดังนี้
หน่วยงาน Jangsa : a department newly established by Kwang-gaeto Taewang,to record chronicle.ถ้าเป็นบ้านเราจะเรียกว่า กรมอาลักษณ์ ไหม ?
อาลักษณ์ = ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก
หน่วยงาน Chamgoon : a department newly established by Kwang-gaeto Taewang, to advice military affairs To the King.นี่คือฝ่ายเสนาธิการทหารไหม ?
ต่อมา ยังทรงรวบรวมกองทัพทั้งสี่แคว้น เป็นกองทัพทั้งหมดของโคคุเรียว อยู่ภายใต้ กษัตริย์ ทรงรวบรวม ห้าแคว้น ให้มีการปกครองภายใต้การปกครองเดียวกัน และชำระกฎหมายให้เป็นหนึ่งเดียวภายในแคว้นต่างๆ
และทรงนำเอาพระ ราโชวาท ของกษัตริย์ โซซูริม เพื่อเป็นผู้ปกครองที่ทรงอำนาจ ทรงทะนุบำรุงการศึกษา และให้มีสำนักปรัชญาเป็นแหล่งรวมความรู้ Taehak และ Kyongdang ผลิต ผู้มีความรู้ความสามารถ ในด้านต่างๆ

กษัตริย์จองโจ

ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการปฏิรูปหน่วยงานต่างๆ และวางรากฐานการปกครองให้กับอาณาจักร
กษัตริย์ จองโจ ทรงให้ล้มเลิกข้อกีดกันที่มิให้บุตรที่เกิดจากอนุภรรยาของขุนนางเข้ารับราชการ
มีการจัดตั้ง คยูจาง-คัก (Kyujang-gak)ซึ่งเป็นห้องสมุดของอาณาจักร จุดประสงค์คือปรับปรุงจุดยืนด้านวัฒนธรรมและการปกครองของโชซอนและให้เจ้าหน้าที่สนใจได้ศึกษานอกจากนี้ยังเป็นการลดความมั่งคั่งของคนชั้นสูงที่มีความเกี่ยวดองกับพระมเหสีอีกทั้งยังมีการสนับสนุนการเรียนของนักเรียนซีฮัก(นักเรียนโรงเรียนนักปราชญ์)

ทรงให้มีการเลิกทาส
ราชสำนักเริ่มรับศาสนาคริสต์เข้ามา มีขุนนางหลายคนหันไปนับถือศาสนาคริสต์
กษัตริย์จองโจใช้เวลาเป็นอย่างมากในการพยายามที่จะลบล้างเรื่องราวที่พระบิดาของพระองค์มีอาการป่วยทางจิต พระองค์ย้ายศาลของเมืองซูวอนโทมาไว้ใกล้กับสุสานของพระบิดาอีกทั้งพระองค์ยังสร้างปราการ ฮวาซอง (Hwaseong) ไว้พิทักษ์สุสาน ในปัจจุบันสถานที่นี้ องค์การ ยูเนสโก ประกาศให้เป็นมรดกโลก

นี่เป็นความรู้สึก จากการดูละครประวัติศาสตร์ 3 เรื่อง สำหรับเรื่อง ลีซาน ดูไม่จบเรื่อง แต่ ตัดตอนบทความมาจาก ของคุณ ร้อยตะวัน

ดิฉันไม่ใช่ นักประวัติศาสตร์ หรือ นักวิจารณ์ละคร หรือ นักเขียน หาก ข้อความที่เขียน มีความผิดพลาดกับข้อมูลประวัติศาสตร์ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ บทความเหล่านี้ นี่เป็นการแสดงความคิดเห็น ของผู้ชมละคร เท่านั้น ขอเชิญเพื่อนมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ