Friday 27 March 2009

A story about Lee Sans life



In the late 18th century, Lee San became the 22nd kind of the Joseon Dynasty!
It was the most tumultuous times ever seen in the 500-year-old Joseon monarchy!
He was an open-minded, wise king who championed democratic values.
The stories of his glorious triumphs, ordeals, regrets, and historical achievements are shown in this TV drama.

A story about Lee Sans life

The politics of Lee San (King Jung-jo)
He was a natural leader who ended vicious partisan politics and revived the economy with his extensive knowledge of the market. He created a strong paradigm in the 18th century and ruled with the kingdom wisely!
This biopic drama covers his dramatic life and shows the achievements of the Silhak scholars and outstanding officials who rebuilt the kingdom's power.

The high point of the arts in the late Joseon Dynasty.
Hwaseong Fortress was a remarkable architectural achievement during this period and western knowledge began to seep into the kingdom. Brilliant individuals such as Park Ji-won, Lee Ick, Jung Yak-yong, Kim Hong-do, Shin Yoon-bok, and others are introduced in this TV drama as well.
For the first time, the art workshop of the palace will be shown along with the Aekjung office and Seja Ikwiesa. There were 10 failed assassination attempts made during this period alone in the 500-year history of the Joseon Kingdom and they will be depicted as well.

Economic turning point in the 18th century
As family industries began to be replaced with a trading economy, the 18th century was a turning point for the economy-!
The commercial trade of the times will be depicted realistically and the trading organization that Song-yeon leads is where the latter Joseon Dynasty's economy originated from. The special Joseon Dynasty products that were made under the guidance of Song-yeon were exported to the China's Ching Dynasty.
In addition, the 30-year romance between the leading female character Song-yeon (Eubin Sung) and King Jung-jo will also be a main theme in the drama.

The reinforcement of the army and military research
In the late 18th century, western technology began to seep into the kingdom and many political factions that opposed the king tried to fan the flames by starting anti-government movements. This led King Jung-jo to take a strong interest in national security and a military buildup. This is when the king reformed the army and began to beef up military research. One accomplishment in this era was the publication of the Muyedobotongji, Joseon dynasty*s first martial arts textbook to ever exist.


เรื่องราวของกษัตริย์จองโจตามประวัติศาสตร์

กษัตริย์จองโจ (Jeongjo) เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจมากพระองค์หนึ่งในสมัยโชซอน เนื่องจากความพยายามต่างๆของพระองค์
ในการปฏิรูปและปรับปรุงประเทศชาติและได้รับการสรรเสริญว่าเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่รักของราษฎรมากที่สุด
พระองค์ครองราชย์ต่อจาก กษัตริย์ยองโจ (King Yeong Jo)พระอัยกา กษัตริยจองโจชื่อเดิมคือ ยีซานหรือลีซาน(Yi San)
พระโอรสขององค์รัชทายาทซาโด (Crown Prince Sado) โอรสองค์ที่สองของกษัตรย์ยองโจ
เนื่องจากพระโอรสองค์แรกเสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย หลังจากนั้นเจ็ดปี เจ้าชายซาโดจึงได้รับตำแหน่งรัชทายาท
ในขณะที่ซาโดเพิ่งเกิดได้ไม่นาน ซาโดได้รับการเลี้ยงดูจากกษัตริย์ยองโจเป็นอย่างดีเพื่อที่จะเป็นกษัตริย์ในอนาคต



ต่อมาระหว่างกษัตริย์ยองโจไม่ไว้วางพระทัยรัชทายาทซาโดเนื่องจากถูกขุนนางฝ่ายโนรนคอยทุลเรื่องใส่ร้ายต่างๆนานา
ว่าองค์ชายรัชทายาทคิดก่อการกบฎเพื่อริดรอนอำนาจของพระราชบิดา หวังขึ้นครองราชย์แทน ด้วยเหตุดังกล่าวทำให้กษัตริย์ยองโจคอยจ้องจับผิดองค์ชายรัชทายาทอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้องค์รัชทยาทซาโดเริ่มมีอาการกลัวพระบิดาของตน ด้วยความกลัวนี้ทำให้พระเกิดเกิดอาการทางจิต บาสงครั้งถึงขั้นต้องทุบตีหรือฆ่าผู้คนเพื่อที่จะระบายความตึงเครียด
การที่ซาโดทำเช่นนี้นำพาความผิดหวังมาสู่กษัตริย์ยองโจเป็นอย่างมาก
ดังนั้นกษัตริย์ยองโจจึงมีรับสั่งให้ขังซาโดไว้ในยุ้งฉาง หลังจากถูกขังเป็นเวลา 8 วันซาโดก็ได้เสียชีวิต
ซึ่งในเวลานั้นลีซันมีอายุได้เพียง 11 ปี เหตุการณ์นี้ได้กระทบกระเทือนจิตใจและก่อให้เกิดความสบสนแก่กษัตริย์จองโจเป็นอย่างมาก



สำหรับกษัตริย์ยองโจ ในคำจารึกที่สุสานได้เขียนไว้ว่าพระองค์ไม่ได้ตั้งใจที่จะฆ่าพระโอรสของพระองค์
แต่ต้องการให้บทเรียนแก่ซาโดเท่านั้นและรู้สึกเสียใจต่อการตายของซาโด
ไม่ต้องการให้ผู้คนมองว่าเป็นพ่อที่ใจร้ายและทารุณ กษัตริย์ยองโจได้กล่าวอีกว่าเจ้าชายต้องฉลาด
ทุกคนต่างคาดหวังว่าเขาจะเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับประชาชาติ แต่เขากลับไม่เรียนรู้ในสิ่งที่ดีงาม
ประพฤติตนไม่เหมาะสมและคบกับพวกอันธพาล ซึ่งเป็นภัยต่อประเทศชาติ
เหล่านี้คือสิ่งที่กษัตริย์ยองโจอธิบายถึงพื้นหลังการลงโทษที่ไม่เคยมีมาก่อน
หลังจากที่ซาโดตายกษัตริย์ยองโจได้ถอดซาโดออกจากตำแหน่งและทำทุกอย่างเพื่อที่จะปกป้องลีซัน
พระนัดดา และ พระนางฮเย-คยอง ลูกสะใภ้



ส่วนของพระมารดาของกษัตริย์จองโจคือ พระนางฮเย-คยอง (Lady Hyekyeong)
ลีซันมีจิตใจดีและเฉลี่ยวฉลาดก็เพราะพระมารดาของพระองค์ ฮเย-คยองเป็นคนที่ใจดีและเฉลี่ยวฉลาด
อีกนัยหนึ่งความเจริญทางการปกครองในสมัยของพระองค์ต้องขอบคุณความสามารถของนาง
ที่ได้ให้การศึกษาแก่ลีซัน นางได้ให้กำเนิดลีซันท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์ยองโจและซาโด
มีทีท่าจะคลี่คลายลง นางรักลูกของนางมากยิ่งกว่าชีวิตและตัดสินใจที่จะไม่ให้เขาเป็นเหมือน
พ่อของเขาเป็นอันขาด นางถูกปลดจากตำแหน่งหลังจากซาโดถูกประหารถึงแม้ว่าพระสวามีของนางจะถูกฆ่า
แต่นางได้เงียบและมีสติเพื่อลูกชายของนางและสอนให้ลีซันไม่ให้ยึดติดกับความแค้น

นางได้เขียนอัตถชีวประวัติชื่อ The Memoirs of Lady Lady Hyekyeong
ถ่ายเรื่องราวของนางในขณะนั้น ในบันทึกเล่มนี้นางได้กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์ยองโจและพระสวามีของนาง
นางได้กล่าวว่า กษัตริย์ยองโจปฏิบัติกับซาโดไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ซาโดที่มีความอบอุ่นและอ่อนโยนโดยนิสัย
ต้องตกอยู่ในสภาพถูกรบกวนทางจิต ความกลัวของซาโดค่อยๆเริ่มจากความหวาดกลัวเครื่องนุ่งห่ม
ต้องเสียเวลาเป็นเวลานานในตอนเช้าเพื่อเลือกอาภรณ์จนถึงการทำร้ายบรรดาข้าหลวง
บันทึกนี้นับว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ประเมินค่ามิได้ บันทึกเล่มนี้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ทางการเมืองในสมัยโชซอน
ตั้งแต่สมัยกษัตริย์ยองโจ กษัตริย์จองโจ กษัตริย์ซุนโจ (King Sunjo) ถึงแม้ว่ากษัตริย์จองโจจะประสบความทุกข์ยากตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโชซอน ผู้ทำให้เกิดความเฟื่องฟูความรู้ทางศิลปวัฒนธรรม



ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการปฏิรูปหน่วยงานต่างๆ และวางรากฐานการปกครองให้กับอาณาจักร มีการจัดตั้ง คยูจาง-คัก (Kyujang-gak)ซึ่งเป็นห้องสมุดของอาณาจักร จุดประสงค์คือปรับปรุงจุดยืนด้านวัฒนธรรมและการปกครองของโชซอนและให้เจ้าหน้าที่สนใจได้ศึกษานอกจากนี้ยังเป็นการลดความมั่งคั่งของคนชั้นสูงที่มีความเกี่ยวดองกับพระมเหสี
อีกทั้งยังมีการสนับสนุนการเรียนของนักเรียนซีฮัก(นักเรียนโรงเรียนนักปราชญ์)



กษัตริย์จองโจได้พบกับ ฮงคุกยอง (Hong Guk- Yeong)ขุนนางที่ต้องการจะเพิ่มอำนาจให้แด่กษัตริย์
แต่กลับลงท้ายด้วยการที่เขาพยายามลอบฆ่าพระมเหสีของพระองค์



กษัตริย์จองโจใช้เวลาเป็นอย่างมากในการพยายามที่จะลบล้างเรื่องราวที่พระบิดาของพระองค์มีอาการป่วยทางจิต พระองค์ย้ายศาลของเมืองซูวอนโทมาไว้ใกล้กับสุสานของพระบิดาอีกทั้งพระองค์ยังสร้างปราการ ฮวาซอง (Hwaseong) ไว้พิทักษ์สุสาน ในปัจจุบันสถานที่นี้ องค์การ ยูเนสโก ประกาศให้เป็นมรดกโลก

No comments:

Post a Comment