Monday, 16 March 2009

พระเจ้ายองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซอน / King Yeongjo's Jeson.

พระเจ้ายองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซอน



พระเจ้ายองโจ

พระเจ้ายองโจ (ฮันจา: 英祖)ทรงเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 21 แห่งราชวงศ์โชซอน พระเจ้ายองโจทรงปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองหลายประการ และทรงปกครองเพื่อราษฏรอย่างแท้จริง ทรงมักจะออกนอกวังไปสอบถามชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และจัดตั้งองค์การลับส่วนพระองค์เพื่อตรวจการทำงานของขุนนางทั่วอาณาจักร ทรงถึงกับขนาดห้ามมิให้ใครดื่มสุราในราชอาณาจักรเพราะทรงเห็นว่าเสียเวลาอันเป็นประโยชน์ ทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ได้รับยกย่องที่สุดแห่งราชวงศ์โชซอน คู่กับพระนัดดา คือ พระเจ้าจองโจ

ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายโนนนและฝ่ายโซนน

ลี คึม ประสูติในพ.ศ. 2237 เป็นพระโอรสของพระเจ้าซุกจง กับสนมแชร์ซุกอี ได้รับพระนามเป็น องค์ชายยอนอิง (연잉군 延礽君) ทรงเป็นองค์ชายที่ห่างไกลจากราชบัลลังก์ เพราะทรงมีพระเชษฐาต่างมารดาที่เป็นรัชทายาทอยู่แล้ว ซึ่งในพ.ศ. 2264 ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าคยองจง แต่พระเจ้าคยองจงนั้นทรงมีความชอบธรรมในการครองราชย์น้อย เพราะพระมารดาของพระเจ้าเคียงจงนั้นคือ สนมจังฮีบิน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสตรีที่ชั่วร้ายวางแผนใช้ไสยศาสตร์สาปแช่งมเหสีของพระเจ้าซุกจงจนสิ้นพระชนม์ ทำให้ขุนนางแตกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายโซนน ที่สนับสนุนพระเจ้าคยองจง และฝ่ายโนนน ที่เห็นว่าควรก็ให้องค์ชายองค์อื่นเป็นกษัตริย์แทน ซึ่งก็คือองค์ชายยอนอิง

ประกอบกับพระเจ้าคยองจงประชวรเป็นโรคเรื้อรังมานาน จนไม่อาจจะมีรัชทายาทสืบต่อบัลลังก์ได้ ฝ่ายโนนนจึงยื่นฏีกาของให้แต่งตั้งองค์ชายยอนอิงเป็น วังเซเจ (พระอนุชารัชทายาท) ซึ่งพระเจ้าคยองจงก็ทรงยอมแต่โดยดี เวลาผ่านไปพระเจ้าคยองจงก็ไม่อาจจะว่าราชการได้ ทำให้ในทางปฏิบัติองค์ชายยอนอิงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระเชษฐา ฝ่ายโซนนจึงวางแผนจะลอบสังหารองค์ชายยอนอิง แต่ไม่สำเร็จ กลัวความผิดของตนจะเปิดเผย เลยหาความผิดใส่ฝ่ายโนนนเพื่อกลบเกลื่อน หาว่าฝ่ายโนนนวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าเคียงจงโดยการใส่ยาพิษในเครื่องเสวย มีขุนนางถูกประหารชีวิตมากมาย รวมทั้งสนมลี สนมคนหนึ่งขององค์ชายยอนอิง

พระเจ้าเคียงจงก็สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2267 โดยไม่มีรัชทายาท องค์ชายยอนอิงจึงขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้ายองโจ

รัชสมัยพระเจ้ายองโจ

พระเจ้ายองโจทรงมีพระเนตรพระกรรณอยู่ทั่วอาณาจักรโชซอนเพราะมีขุนนางที่ชื่อ ปาร์กมุนซู ซึ่งทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ทำงานอย่างซื่อตรงและจะคอยเดินทางไปทั่วอาณาจักรอยู่บ่อยครั้งเพื่อตรวจสอบการทำงานของขุนนางท้องที่ และมีส่วนในการปราบกบฎของลีอินจาในพ.ศ. 2271 ซึ่งลีอินจาเป็นผู้นำฝ่ายโซนนนำทัพเข้าบุกวังชังดอกหมายจะตั้งองค์ชายมิลพงเป็นกษัตริย์แทนแต่ไม่สำเร็จ

ในสมัยพระเจ้ายองโจ การค้าของโชซอนพัฒนาขึ้นมามาก[1] ผู้คนในทุกระดับชั้นตั้งแต่ชาวบ้านถึงขุนนางพากับประกอบธุรกิจการค้า ชนชั้นพ่อต้าเรืองอำนาจและได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักในการผูกขาดสินค้าแต่ละชนิดให้เป็นของตน เป็นการละทิ้งแนวความคิดแบบขงจื้อเดิม ที่ประมาณอาชีพค้าขายว่าเป็นอาชีพที่ต้อยต่ำ แต่ถ้าจะเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างราชวงศ์ชิงหรือญี่ปุ่นแล้ว กิจกรรมการค้าในเกาหลีนั้นยังไม่พัฒนาไปถึงขั้นนั้น เพียงแต่จากเดิมที่กิจกรรมการค้าจะมีนานๆทีก็กลายเป็นมีทุกวัน โดยเฉพาะในฮันยาง

พระเจ้ายองโจทรงมีพระโอรสกับสนมจอง ตระกูลลี ที่ถูกสำเร็จโทษไปก่อนที่พระองค์จะได้ขึ้นครองราชย์ และทรงแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาท แต่สิ้นพระชนม์ไปเสียก่อนในพ.ศ. 2271 ได้รับพระนามว่า องค์ชายรัชทายาทฮโยจัง ในพ.ศ. 2278 พระเจ้ายองโจก็ทรงมีพระโอรสอีกพระองค์กับสนมยอง ตระกูลลี คือ องค์ชายจังฮอน ทรงแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาท พระเจ้ายองโจทรงหมายมั่นปั้นเหมาะกับรัชทายาทพระองค์นี้มาก เพื่อเจริญพระชันษาขึ้นก็ให้ช่วยพระองค์ปกครองบ้านเมือง(พระองค์คือพระบิดาของพระเจ้าจองโจ)

พ.ศ. 2298 เป็นปีแห้งแล้ง แล้วก็มีฝนตกหนักน้ำท่วมในมณฑลเพียงอัน องค์ชายจังฮอนทรงร้อนพระทัยมากแต่บรรดาขุนนางท้องที่กลับสุขสบายมัวแต่ดื่มสุราไปวันๆ องค์ชายจังฮอนจึงมีพระราชบัญฑูรให้ห้ามมีการดื่มสุราในมณฑลเพียงอัน พระเจ้ายองโจพอทราบเรื่องก็ทรงเห็นด้วยและประกาศห้ามมีการดื่มสุราไปทั่วอาณาจักร ทรงให้ทำลายโรงสุราในวัง ในงานเลี้ยงก็ไม่มีสุราให้ดื่ม แม้บรรดาขุนนางจะคัดค้าน ก็ทรงยืนกรานว่าทรงทำไปเพื่อประเทศชาติ

และในพ.ศ. 2300 พระเจ้ายองโจทรงทราบว่าสตรีชาวบ้านสมรสกันน้อยลงเพราะไม่มีเงินซื้อผมมาใส่กับชุดฮันบก พระเจ้ายองโจจึงทรงแก้ปัญหาโดยการสั่งห้ามมิให้มีการใส่ผมทังอี ไม่ว่าจะเป็้นพระมเหสีสตรีในวังหรือภรรยาขุนนางตลอดจนชาวบ้าน โดยให้เกล้าผมด้านหลังแล้วเสียบปิ่นปักผมแทน รวมทั้งเสื้อผ้าอาภรณ์ก็ให้หรูหราน้อยลงเพื่อประหยัดงบประมาณแผ่นดิน นับว่าชีวิตในวังหรูหราน้อยลงไปมากในสมัยพระเจ้ายองโจ

องค์ชายซาโด

ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ายองโจกับพระโอรสคือองค์ชายรัชทายาทจังฮอนนั้นสู้จะไม่ค่อยดีนัก องค์ชายจังฮอนที่ประชวรออดๆแอดๆมาแต่พระเยาว์ ในพ.ศ. 2295 องค์ชายจังฮอนประชวรเป็นโรคหัด ตั้งแต่นั้นมาองค์ชายจังฮอนทรงเริ่มจะมีพฤติกรรมแปลกๆ ทรงเห็นภาพหลอนและยังประชวรด้วยโรคอีสุกอีใสอีก

ในพ.ศ. 2300 มเหสีจองซองสิ้นพระชนม์ แม้พระเจ้ายองโจจะพระชนมายุมากแล้ว แต่ก็ยังต้องมีมเหสี ด้วยเหตุที่พระบิดาพระเจ้าซุกจงออกกฎมณเฑียรบาลห้ามแต่งตั้งสนมขึ้นเป็นมเหสี (เพราะเหตุการณ์สนมจังฮีบิน) พระเจ้ายองโจจึงต้องทรงอภิเษกกับธิดาของคิมฮันกู คือ มเหสีจองซุน พระชนมายุ 15 พรรษา ซึ่งขณะนั้นพระเจ้ายองโจพระชนมายุ 66 พรรษา นับเป็นพระราชาและพระมเหสีที่พระชนมายุต่างกันมากสุดของราชวงศ์โช:อน

องค์ชายรัชทายาทจังฮอนทรงมีพฤติกรรมรุนแรงมากขึ้น ทรงทำร้ายขันทีนางรับใช้ต่างๆรวมทั้งหมอหลวงถึงขึ้นฆ่าแกง เป็นที่หวาดกลัวไปทั่ววัง และยังทรงนำพระภิกษุเข้ามาในวังซึ่งเป็นสิ่งที่ห้าม ในพ.ศ. 2305 ขุนนางฝ่ายโนนนถวายฎีกาแด่พระเจ้ายองโจให้ทรงลงพระอาญาพระโอรส แม้แต่พระมารดาคือสนมยอง ตระกูลลี ก็เห็นด้วย พระเจ้ายองโจจึงมีพระราชโองการบังคับให้องค์ชายจังฮอนเข้าไปอยู่ในกล่องใส่ข้าว เป็นเวลาเจ็ดวัน องค์ชายจังฮอนก็สิ้นพระชนม์

ในรัชกาลของพระองค์มีขุนนางดีๆและไม่ดีจำนวนมากเช่นจอง-ฮูกยอมฮันจุนโฮ เจ้ากรมกลาโหม ฮงพงฮันเสด็จตาของพระเจ้าจองโจฯลฯทรงสวรรคตเมื่อปีพ.ศ. 2319ขณะพระชนม์82พรรษาทรงครองราชย์ได้52ปี


พระบรมวงศานุวงศ์

พระราชบิดา : พระเจ้าซุกจง
พระราชมารดา : สนมซุกกี ตระกูลแชร์
พระมเหสี : มเหสีจองซอง ตระกูลซอ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2300 ,พระมเหสีจองซุน ตระกูลคิม
พระสนม: สนมจอง ตระกูลลี ถูกสำเร็จโทษในสมัยพระเจ้าเคียงจง ภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นสนมจอง ,สนมยอง ตระกูลลี ,ควีอิน ตระกูลโจ ,ซุกกี ตระกูลมุน ถูกพระเจ้าจองโจปลดจากตำแหน่ง เพราะให้ร้ายองค์ชายรัชทายาทซาโด
พระราชโอรสและพระราชธิดา : องค์ชายรัชทายาทฮโยจัง พระราชโอรสองค์ืเดียวของพระเจ้ายองโจกับสนมจอง ตระกูลลี สิ้นพระชนม์ลงในปีพ.ศ. 2271 , องค์ชายรัชทายาทจังฮอน กับสนมยอง ตระกูลลี , องค์หญิงฮวาซุน กับสนมจอง ตระกูลลี ,องค์หญิงฮวาเปียง กับสนมยอง ตระกูลลี ,องค์หญิงฮวาฮยอบ กับสนมยอง ตระกูลลี ,องค์หญิงฮวาวาน กับสนมยอง ตระกูลลี อภิเษกกับ จองชีดัล มีพระโอรสบุญธรรม คือ จอง-ฮูกยอม (정후겸鄭厚謙) ,องค์หญิงฮวายู กับควีอิน ตระกูลโจ ,องค์หญิงฮวา-นยอง กับซุกกี ตระกูลมุน ,องค์หญิงฮวากิล กับสนมซุกกี ตระกูลมุน


พระเจ้ายองโจ : King Yeong Jo cast by Lee Soon Jae

King Yeongjo's Reforms

Realizing detrimental effects, on state administration, of factional strife during the latter half of the 17th century in Joseon Dynasty, King Yeongjo (r.1724-1776) attempted to end factional strife as soon as he ascended the throne. To reinstate the short-lived universal military service tax, he even came out of the palace gate and solicited the opinions of officials, literati, soldiers and peasants. He reduced the military service tax by half, and ordered the deficiency supplemented by taxes on fisheries, salt, vessels and an additional land tax. King Yeongjo also regularized the financial system of state revenues and expenses by adopting an accounting system. His realistic policies allowed the payment of taxes in grain in the remote Gyeongsang-do province to nearby ports, and payment in cotton or cash for grain in mountainous areas. The circulation of currency was encouraged by increased coin casting.
His concern for the improvement of peasant life was manifest in his eagerness to educate the people by distributing important books in Korean script, including books on agriculture.

The pluviometer was again manufactured in quantity and distributed to local offices, and extensive public works were undertaken. King Yeongjo upgraded the status of the offspring of commoners, opening another possibility for upward social mobility. His policies were intended to reassert the Confucian monarchy and humanistic rule, but they could not stem the tide of social change.

Mercantile activities increased in volume at a rapid rate in the 18th century. There was accumulation of capital through monopoly and wholesaling that expanded through guild organization. Many merchants were concentrated in Hanyang. The traditional divisions of government-chartered shops, the licensed tribute-goods supplier, and the small shopkeepers in the alleys and streets, were integrated into the fabric of a monopoly and wholesale system. The temporary shops were originally set up to meet the demands of the people on special occasions, such as civil service examinations, royal processions and other national events, but they continued after the events to supply the general populace with groceries and sundry items. Operated by poor shopkeepers in temporary huts, they were for the most part dependent on the wholesale merchants. As a result, the wholesale merchant's price policies had direct impact on the life of the populace of Hanyang.

The artisans often became self-employed producers. Some even developed into factory owners and obtained charters of monopoly for the sale of their products. In some cases, it proved more lucrative simply to be a wholesale dealer in certain commodities than to engage in the production of goods. It was becoming fashionable among merchants and artisans to obtain charters by creating a new commodity through minor refinement of goods already chartered. The charter ensured monopoly and the protection of the government.

The so-called estuary merchants monopolized commodities from the provinces of Gyeonggi-do and Chungcheong-do, and other wholesale merchants had nationwide networks for the sale of ginseng. The merchants of Gaeseong or Songdo competed vigorously with their Hanyang counterparts in wholesale activities, conducting tripartite international trade between Japan and China; they traded ginseng and other Korean products for Japanese silver and Chinese books and silk. They even accompanied the envoy missions to China in their quest for gain. They went into the business of buying up paper for trade to China from the original producers in Buddhist temples, horse hair for hats from the remote southern Jejudo island, and otter fur from hunters on the east coast.

The constant movement of trading ships between and among these remote ports is described in Yi Junghwan's Taengniji (Ecological Guide to Korea) and depicted in Yi Inmun's painting, the Inexhaustible Rivers and Mountains.

The monopoly and wholesale activities created a larger demand for silver and copper, which in turn gave impetus to the mining industry. Under strict control of the government in prewar times, mines were turned over to private operators. In the 17th century, 68 silver mines were in operation but copper mining was not well developed, as copper was supplied by Japan. In the 18th century, however, copper mines were also developed when the Japanese stopped exporting copper and Qing demanded great supplies of it.

The constant rise in price of commodities would have threatened the livelihood of the populace of Hanyang had they not been involved one way or another in mercantile activities. Regardless of status, many yangban and commoners engaged in some kind of merchant activity.

Thus Hanyang made great strides as a commercial and industrial city in the 18th century. The popular demand for handicraft goods such as knives, horsehair hats, dining tables and brassware was ever increasing. Restrictions on the wearing of the horsehair hat, originally a symbol of yangban status, virtually disappeared.

The increase in the number of yangban had been the root cause of their impoverishment, as their land-holdings had to be divided equally among the sons at the least, and often among daughters as well, whether married or not. The yangban of declining fortunes had the choice of either engaging in agriculture as an owner-cultivator, or in lucrative enterprises indirectly. Money-lending was another field they entered as trade and currency circulation expanded.

The traditional Confucian notion that commerce and industry were marginal occupations, unworthy of pursuit by the yangban, also changed, and the necessity for on-hands learning was encouraged by Qing China. Bak Jiwon, Bak Jega and others who had traveled to Qing with the Joseon's envoy missions witnessed the rapid development of commerce and manufacturing industry there. Upon returning to Joseon they proposed positive policies for the development of commerce, metallurgy, fishing, stock farming, horticulture and mining.

Even pirating of books became commercialized, as competition developed among well-to-do yangban in the publication of collected literary works of renowned ancestors. This led to the printing of popular fiction and poetry. The people especially appreciated satire and social criticism. The Chunhyangjeon (Tale of Chunhyang), about the fidelity of an entertainer's (gisaeng) daughter, was widely read as a satire aimed to expose the greed and snobbery of government officials.

No comments:

Post a Comment