Monday 16 March 2009

พระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งราชวงศ์โชซอน / King Jeongjo of Joseon

พระเจ้าจองโจ กษัตริย์ลำดับที่ 22 แห่งราชวงศ์โชซอน

พระเจ้าจองโจ

พระเจ้าจองโจ (정조正祖) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 22 แห่งราชวงศ์โชซอน ทรงได้รับยกย่องว่าทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งโชซอน ทรงสานต่อการปฏิรูปบ้านเมืองจากพระเจ้ายองโจพระอัยกา ทำให้อาณาจักรโชซอนในศตวรรษที่ 18 กลับขึ้นมารุ่งเรืองอีกครั้งอย่างมีเอกลักษณ์ของตนเอง ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่สนพระทัยในความเป็นอยู่ของราษฏรอย่างมาก ผิดกับกษัตริย์องค์ก่อนๆและทรงฝักใฝ่หาความรู้ต่าง ทรงมีโครงการใหญ่มากที่จะย้ายเมืองหลวงไปที่ฮวาซอง โดยทรงสร้างป้อมขนาดใหญ่ คือ ป้อมฮวาซอง

องค์ชายซาโด - พระบิดา

ลี ซาน ประสูติในพ.ศ. 2295 ที่เคียงชอนจอน พระราชวังชางเกียงกุง เป็นพระโอรสองค์ที่สองขององค์ชายรัชทายาทจังฮอน(องค์ชายซาโด) กับพระชายาเฮคยอง พระเจ้ายองโจพระอัยกาได้แต่งตั้งลี ซานเป็นวังเซซุน (พระนัดดารัชทายาท) ตามพระบิดา วังเซซุนทรงมีพระเชษฐาอยู่องค์หนึ่ง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทมาก่อน แต่สิ้นพระชนม์ไปในปีเดียวกับที่ลี ซาน ประสูติ

ปรากฏในภายหลังองค์ชายจังฮอน(องค์ชายซาโด)ทรงมีพระอาการทางพระสติไม่ปกติ ทรงหวาดกลัวสิ่งต่างๆรอบพระองค์ ทรงทำร้ายร่างกายข้าราชบริพารต่างๆ ทรงสังหารบรรดาซังกุง หมอหลวง เป็นที่หวาดกลัวไปทั่ววัง ทรงถึงกับขนาดใช้ไม้ทุบน้องพระชายาองค์หนึ่งจนถึงแก่ความตาย ในพ.ศ. 2305 ขุนนางฝ่ายโนนนถือโอกาสถวายฏีกาแก่พระเจ้ายองโจ ให้ทรงลงอาญาองค์ชายจังฮอน องค์ชายจังฮอนทรงพิโรธ หาว่าพวกขุนนางใส่ร้ายป้ายสี จับเอาญาติมิตรของขุนนางเหล่านั้นมาทรมานจนเสียชีวิต

จนสนมลียองบินพระมารดาขององค์ชายจังฮอนทนไม่ได้ขอให้พระเจ้ายองโจลงพระอาญาองค์ชายจังฮอน ในพ.ศ. 2305 พระเจ้ายองโจมีราชโองการให้จับองค์ชายจังฮอนขังไว้ในกล่องไม้ใส่ข้าว เป็นเวลาเจ็ดวัน จึงสิ้นพระชนม์ องค์ชายลีซานและพระชายาถูกปลดจากตำแหน่งรัชทายาททุกประการ

รัชสมัย

วังเซซุนครองราชย์ในพ.ศ. 2319 เป็นพระเจ้าจองโจ ในพิธีราชาภิเษก ตรัสว่า

อ้า ข้าคือพระโอรสขององค์ชายรัชทายาทซาโด กษัตริย์องค์ก่อน(พระเจ้ายองโจ)ให้ข้าเป็นพระโอรสขององค์ชายรัชทายาทฮโยจัง เพราะทรงคิดว่าความชอบธรรมของพระราชวงศ์เป็นเรื่องสำคัญ

เหตุการณ์ประหารองค์ชายซาโดทำให้การเมืองโชซอนแตกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ยอมรับการที่พระเจ้ายองโจทรงสังหารพระโอรส เรียกว่า ฝ่ายชิปา คือ ฝ่ายโซนนเดิม ประกอบด้วยตระกูลฮงแห่งพงซาน มีฮงกุกยองเป็นผู้นำ มีความคิดยอมรับอารยธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนา และฝ่ายที่ไม่เห้นด้วย เรียกว่า ฝ่ายพยอกปา คือ ฝ่ายโนนนเดิม ตระกูลคิมแห่งอันดง นำโดยพระอัยยิกาคิม มเหสีของพระเจ้ายองโจ อนุรักษ์นิยมและต่อต้านคริสต์ศาสนา

ฝ่ายโนนนที่เคยสนับสนุนให้มีการประหารองค์ชายซาโด จึงถูกกดขี่อย่างนัก ในพ.ศ. 2315 พระเจ้าจองโจทรงเนรเทศคิมฮันกู พระบิดาของพระอัยยิกาคิม มเหสีของพระเจ้ายองโจ และฮงพงฮัน พระเจ้าตาของพระองค์เอง ในฐานะที่เป็นผู้นำฝ่ายโนนน แม้ฝ่ายโนนนจะเสียอำนาจไป แต่ก็ยังคงอยู่ได้ด้วยพระพันปีคิม

เนื่องจากพระเจ้าจองโจทรงสนพระทัยในศิลปะวิทยาการความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะความรู้ตะวันตกที่เข้ามาใหญ่พร้อมกับคริสต์ศาสนา ทำให้ทรงไม่สนพระทัยการเมืองในวังและปล่อยให้ ฮงกุกยอง ราชเลขาจัดการ พระเจ้าจองโจทรงพยายามที่จะสลายการแบ่งแยกขุนนางออกเป็นฝั่กฝ่าย โดยทรงตั้งคยูจังกัก ในพ.ศ. 2319 ให้เป็นที่สำหรับหารือกิจการบ้านเมืองและถกความรู้เกี่ยวกับปราชญ์ขงจื้อ โดยมีแชร์เชกง เป็นหัวหน้าคยูจังกักและเป็นอัครเสนาบดี เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของพระเจ้าจองโจ พระเจ้าจองโจทรงพยายามที่จะล้มเลิกข้อกีดกันทางสังคมเดิม ที่มิให้บุตรที่เกิดจากอนุภรรยาของขุนนางเข้ารับราชการ เพื่อให้ได้คนที่มีความสามารถแต่ฐานะต้อยต่ำ ซึ่งคยูจังกักก็เป็นที่สำหรับขุนนางใหม่เหล่านี้ ซึ่งก็เป็นลูกของอนุภรรยาของขุนนางฝ่ายโนนนเสียส่วนใหญ่ ขุนนางในคยูจังกัก เป็นฝ่ายชิปาทั้งนั้น และก้าวหน้าเร็ว ทำให้ฝ่ายโนนนโจมตีพระเจ้าจองโจว่าทรงตั้งคยูจังกักเป็นที่เลี้ยงขุนนางที่เข้าข้างพระองค์[1]

และพระเจ้าจองโจยังทรงสนับสนุนปราชญ์ขงจื้อแนวประยุกต์ที่เรียกว่าว่า ชิลฮัก ที่เน้นการนำหลักปรัชญาไปใช้จริงในการดำเนินชีวิต ไม่ใช่หลักปรัชญาในอุดมคติที่สมบูรณ์แบบจนนำมาใช้จริงไม่ได้

ในพ.ศ. 2321 พระเจ้าจองโจทรงอภิเษกน้องสาวของฮงกุกยองเข้ามาเป็นสนมวอน ตระกูลฮง แต่ไม่ทันไรปีถัดมาสนมฮงก็เสียชีวิต ทำให้ฮงกุกยองคิดว่าน้องสาวของตนเสียชีวิตเพราะการกระทำของมเหสีฮโยอึย มเหสีของพระเจ้าจองโจ จึงวางแผนลอบปลงพระชนม์พระมเหสีเพื่อแก้แค้น แต่ถูกจับได้และถูกเนรเทศ และต่อมาไม่นานฮงกุกยองก็เสียชีวิต

พระเจ้าจองโจทรงสนับสนุนขุนนางฝ่ายโซนนให้ขึ้นมามีอำนาจเพื่อคานอำนาจกับฝ่ายโนนนที่มีอำนาจอยู่เดิมในสมัยพระเจ้ายองโจ ฝ่ายโนนนที่เสียอำนาจ หรือ ฝ่ายพยอกปา (พยอกปา แปลว่า เสียอำนาจ) นำโดยชิม ฮวานจี เป็นอุปสรรคสำคัญในการดำเนินการปฏิรูปบ้านเมืองของพระเจ้าจองโจ ไม่ว่าพระเจ้าจองโจจะออกการปฏิรูปอะไรฝ่ายโนนนก็จะคัดค้านเสมอ แต่กระนั้นก็มิได้ทรงละทิ้งหรือกีดกันฝ่ายโนนนแต่อย่างใด เพราะทรงถือหลังความเท่าเทียมกันของทุกฝ่าย มีหลักฐานค้นพบใหม่ว่าแท้จริงแล้วพระเจ้าจองโจทรงวางแผนให้ฝ่ายโนนนและโซนนขัดแย้งกัน เพื่อให้การเมืองเป็นไปอย่างที่พระองค์ต้องการ[2] ทรงตั้งขุนนางจากฝ่ายโนนน โซนน และฝ่ายใต้ เป็นอัครเสนาบดี เสนาซ้าย และเสนาขวาตามลำดับ[3]

ในพ.ศ. 2325 พระเจ้าจองโจทรงมีพระโอรสกับพระสนมซองซงยอน ตระกูลซอง และแต่งตั้งเป็นองค์รัชทายาทมุนฮโย แต่ในพ.ศ. 2329 รัชทายาทมุนฮโยก็สิ้นพระชนม์ และสนมซองก็สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกันในขณะที่มีประสูติกาล จนในพ.ศ. 2333 พระเจ้าจองโจก็มีพระโอรสอีกองค์ กับสนมซู ตระกูลปาร์ค จึงแต่งตั้งเป็นรัชทายาทอีกพระองค์ ภายหลังจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าซุนโจ พระเจ้าจองโจทรงมอบรัชทายาทให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของพระอัยยิกาคิม(อดีตพระมเหสีของพระเจ้ายองโจ)

ในพ.ศ. 2335 ขุนนางฝ่ายใต้ยื่นฎีกาให้พิจารณาความผิดขององค์ชายรัชทายาทซาโดใหม่ ว่าที่จริงแล้วทรงถูกให้ร้าย พระเจ้าจองโจทรงถือโอกาสนี้ ดึงฝ่ายใต้ขึ้นมามีอำนาจแข่งกับฝ่ายโซนนและโนนน ดังนั้นในปลายรัชสมัยของพระเจ้าจองโจฝ่ายใต้มีอำนาจ นำโดย แชร์เจกง ประจวบเหมาะกับเวลาที่ราชสำนักเริ่มจะรับคริสต์ศาสนาเข้ามา และขุนนางฝ่ายใต้หลายคนก็เข้ารีต ในพ.ศ. 2334 พระเจ้าจองโจมีพระดำริที่จะเลิกทาสในวัง และในพ.ศ 2337 ก็ทรงจะให้ตรวจสอบการถือครองที่ดินของขุนนาง ทำให้ขุนนางฝ่ายโนนนประท้วงอย่างรุนแรง[4]

ในพ.ศ. 2337 พระเจ้าจองโจทรงเริ่มโครงการสร้างป้อมฮวาซอง เพื่อให้เป็นที่ฝังศพของพระบิดาองค์ชายซาโด และเป็นพระราชวังอีกแห่ง มีจองยัคยอง นักปราชญ์ซิลฮักคนสำคัญเป็นคนออกแบบ การสร้างป้อมฮวาซองแสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของโชซอนในสมัยนั้น และเป้าหมายที่แท้จริงของพระเจ้าจองโจในการสร้างป้อมนี้ก็เพื่อรองรับการย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองซูวอนในอนาคต พระเจ้าจองโจประทานรางวัลแก่ราษฏรที่ยอมย้ายไปยังเมืองซูวอนและไม่ต้องเสียภาษีไปห้าปี หลังจากใช้เวลาสร้างสองปีกว่า ป้อมฮวาซองก็เสร็จสมบูรณ์ในพ.ศ. 2339

สิ้นพระชนม์และมรดก

พระเจ้าจองโจสิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันในพ.ศ. 2343 โดยที่โครงการใหญ่ต่างๆของพระองค์ยังค้างอยู่ สุดท้ายเมืองหลวงก็ไม่ได้ย้ายไปไหน พระโอรสคือพระเจ้าซุนโจก็มิได้ทรงสานงานต่อ เพราะทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพระอัยยิกาคิม ในรัชสมัยของพระเจ้าจองโจฝ่ายใต้มีอำนาจ แต่ฝ่ายโนนนยังรอคอยเวลาจะแก้แค้นอยู่ ซึ่งความขัดแย้งระหว่างฝ่ายขุนนางก็กลับขึ้นมาอีกครั้งหลังรัชสมัยของพระองค์

พระราชวงศ์

พระราชบิดา : องค์ชายรัชทายาทซาโด
พระราชมารดา : พระชายาเฮคยอง
พระมเหสี : มเหสีฮโยอึย ตระกูลคิม
พระสนม : พระสนมเอกซงยอน ตระกูล ซอง , สนมยองบิน ตระกูล ยุน , สนมซุกกี ตระกูล ฮง ,สนมซุกกี ตระกูล ปาร์ค
พระโอรส : องค์ชายรัชทายาทมุนฮโย ประสูติพ.ศ. 2325 กับสนมเอกซงยอ ตระกูลซอง สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2329 , พระเจ้าซุนโจ ประสูติพ.ศ. 2333 กับสนมซุกกี ตระกูลปาร์ค
พระธิดา : องค์หญิงซุกซอน ประสูติกับสนมซุกกี ตระกูลปาร์ค

พระเจ้าจองโจ (ลีซาน) : Lee Seo Jin as Yi San / King Jeong Jo



King Jeongjo of Joseon

King Jeongjo (1752–1800) was the 22nd ruler of the Joseon Dynasty of Korea. Because of his various attempts to reform and improve the nation, King Jeongjo is regarded as the reformation ruler in Joseon. He was preceded by his grandfather King Yeongjo (1724–1776) and succeeded by his son King Sunjo (r. 1800–1834). He is widely regarded as one of the most successful and visionary rulers of Joseon along with King Sejong.

He was the son of Crown Prince Sado, who was put to death by his own father, King Yeongjo. His mother, Lady Hyegyeong, wrote an autobiography, The Memoirs of Lady Hyegyeong (한중록, 閑中錄), detailing her life as the ill-fated Crown Princess of Korea. This collection of memoirs serve as an invaluable source of historical information on the political happenings during the reigns of King Yeongjo, King Jeongjo and King Sunjo.

When he was the the Crown Prince, King Jeongjo met Hong Guk-yeong (홍국영, 洪國榮), a controversial politician who first strongly supported Jeongjo's accession and toiled to improve the king's power, but ended up being expelled because of his desire for power.

Jeongjo spent much of his reign trying to clear his father's name. He also moved the court to the city of Suwon to be closer to his father's grave. He built Hwaseong Fortress to guard the tomb. It is now a UNESCO World Heritage Site.

His era was quite in disorder as his father was forcefully killed. King Yeongjo's ultimate decision to execute Prince Sado was greatly influenced by other politicians who were against Prince Sado.

From this, he went through many turbulent times but overcame them with the aid of Hong Guk-yeong.

King Jeongjo led the new renaissance of Joseon dynasty. It was originally stepped by continuing policy of Tangpyeong, Yeongjo's. He tried to control whole politics of the nation for acquisition of national progress.

He made various reforms throughout his reign, notably establishing Kyujanggak (규장각), an imperial library. However, its purpose was to improve the cultural and political stance of Joseon and to recruit gifted officers to run the nation. He also spearheaded bold new social initiatives, opening government positions to those who were barred because of their social status. In Joseon Korea, a man who was born of a yangban (nobility) father and a cheonmin (low status) mother was prohibited by law by seeking government employment, because of the perceived "taint" of half-blood. Also, it was created to lessen the grip of various wealthy aristocrats and relatives of the queen, which had occurred various times throughout Korea's history. Jeongjo had the support of the many Silhak scholars, in addition to Silhak scholars aid of Jeongjo's regal power, and during the Jeongjo's reign Joseon's popular culture became advance.

He got the wide historical title of innovative people in spite of having such high status in Joseon. In the era of Jeongjo, other nations had shown much progress such several civil wars. But he did not achieve further achievement owing to sudden death. He died suddenly in 1800 for a mysterious reason, without seeing his lifelong wishes realized by his son, Sunjo. There are many books regarding the mysterious death of Jeongjo, even today.

He is buried with his wife at the royal tomb of Geonneung (건릉, 健陵) in the city of Hwaseong.

No comments:

Post a Comment