Monday 8 June 2009

Gongmin of Goryeo:[공민왕 영정] : The Artist King.


"A Frozen Flower" Korean Movie
คุณ ร้อยตะวัน มี VOD ให้ชม จนต้องไปแสวงหาแผ่นหนังมาดู แต่แผ่นยังเดินทางมาไม่ถึง พอดีนึกถึงเรื่องบางอย่างขึ้นมาได้ เลย ขออนุญาต หยุดเรื่อง ของ ลี มินฮุง และ คัง จุนซาง ไว้ก่อน คือ ดิฉัน มัว แต่ติดตาม จุนซาง ไปตามหา พ่อ เลยยังไม่มีเวลาเล่าตอนที่ 16 ของ WLS ต่อ น่ะค่ะ จุนซาง ก็ มัวแต่ เทียวไปเทียวมา ระหว่าง โซล และ ชุนชง ดิฉัน ติดตามจุนซาง ไป ตลอด ก็เลย เหนื่อยมาก ๆ ( จุนซาง เริ่ม ตามหาพ่อ เมื่อ สิบปีที่แล้ว ( จริงๆ คือ เมื่อปี 2002) แต่ปีนี้ 2009 ที่เมืองไทยบ้านเรา น้องๆหลายคนหลายจังหวัด ทั้งน้อง ผู้ชาย น้องผู้หญิง ตามหา คุณพ่อ ญี่ปุ่น กันจ้าละหวั่น เป็นข่าวรายวันเลยทีเดียว ซึ่งน่าชื่นชมเจ้าหน้าที่ต่างประเทศของไทยเรานะคะที่พยายามตามหา คุณ พ่อ ให้น้องๆ เหล่านั้น ไม่รู้ ว่าน้อง ๆ in trend การตามหาพ่อ ของ คัง จุนซาง หรือ คัง จุนซาง เมื่อ ปี 2002 กลับมา in trend เรื่อง จริง ในเมืองไทย ในปัจจุบัน

ดิฉัน เลย ขอ ทิ้งเรื่องของพลเมืองคนที่วุ่น ๆ วาย ๆ เหลือเกิน ของกรุงโซล ( ก็ อาณาจักร โซซอน แหล่ะค่ะ ) คือ ลี มินฮุง และ คัง จุนซาง ย้อน ไป ที่ GORYEO ดีกว่า


Gongmin of Goryeo

ก็ "กษัตริย์ศิลปินแห่งโครยอ" มาจุดประกาย นั่นเอง
ฉาก ที่ทรงดนตรี และ ทรงร้องประกอบที่คุณร้อยตะวันบอกว่าคล้าย ขับเสภา ของบ้านเรา น่าติดตามมากเลย แถม ทรงวาดภาพ ได้อีกด้วย
จู จินโม และ โจ อินซอง ประชันบทบาท กษัตริย์ และองครักษ์ ที่ มีความสัมพันธ์ไม่ธรรมดา กันบนจอ

เมื่อชิลลา รวม สามอาณาจักร โคคุเรียว แพคเจ และชิลลา เป็นหนึ่งเดียว ได้ ในปลายศตวรรษที่ 9 ต่อมาบ้านเมือง ก็เริ่มไม่สงบ เพราะบรรดาขุนนางของชิลลา ฉ้อราษฏร์ บังหลวง ทั้ง โคคุเรียว และแพคเจ ก็มีคนมีฝีมือ แยกตนเป็นอิสระ เกิด โคคุเรียว ยุคหลัง แพคเจ ยุคหลัง กลับ เป็น สามอาณาจักรอีกครั้ง สำหรับ โคคุเรียว หรือ โคกุริออ ยุคหลัง ได้เปลี่ยน ชื่อ อาณาจักร เป็น โคเรียว หรือ โคริออ หรือ โครยอ โดย กษัตริย์ TaeJo Wang Geon และต่อมาได้รวม สามอาณาจักร สำเร็จ ใหม่ ใน ปี ค.ศ. 936


TaeJo of Goryeo

เริ่ม ต้นราชวงศ์ โคเรียว เป็นกษัตริย์ TaeJo of Goryeo

Goryeo มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น เริ่ม ทำการค้าระหว่างประเทศ จากการ ค้าขาย กับต่างประเทศนี้เอง
เป็นที่มา ของ คำว่า KOREA ซึ่งก็มาจากชื่อของอาณาจักรนี้ ที่มีการค้าขาย กับ ชาวต่างชาติมาก ส่วน ไทย เราเรียก เกาหลี ตามสำเนียง จีน

Goryeo เป็นอาณาจักร ในช่วง ค.ศ . 918-1392 ( ค.ศ .918 ยัง มีอาณาจักร Balhae และ Silla เป็น ช่วงท้าย ของ 2 อาณาจักร นี้)

กษัตริย์ กงนิม องค์ ที่ 31 ของ GORYEO ในช่วงปี ค.ศ. 1330-1374 ก็นับเป็นช่วงปลายของราชวงศ์ GORYEO
ราชวงศ์นี้ มีกษัตริย์ ทั้งสิ้น 34 พระองค์ กษัตริย์พระองค์ ที่ 32 ทรงครองราชย์เพียง 14 ปี กษัตริย์องค์ที่ 33 ทรงครองราชย์ เพียง ปี เดียว และ องค์ สุดท้าย ทรงครองราชย์เพียง 3 ปี
เพียง 18 ปี หลังจาก กษัตริย์ กงนิม สิ้นพระชนม์ อาณาจักร GORYEO ที่รุ่งเรือง ใน หลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ ศาสนาพุทธ นั้น อาณาจักรนี้ก็ ล่มสลาย แล้ว กลายเป็น อาณาจักร โซซอน

Goryeo เกิดความไม่สงบจากภายในอาณาจักร และการรุกรานจากประเทศจีน จน นายพล ลี ซองแก แม่ทัพของ GORYEO ได้ นำกองทัพ ยึดอำนาจจากกษัตริย์ เพราะ กษัตริย์ อ่อนแอ ไม่สามารถปกครองให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขได้ นายพล ลีซองแก ตั้งตนเป็นกษัตริย์ และเปลี่ยนชื่อ ประเทศ จาก GORYEO เป็น JOSEON ในปี ค.ศ. 1392 และเป็น กษัตริย์ TaeJo Of Joseon

TaeJo Of Joseon

และในปี ค.ศ. 1394 อันเป็นปีที่ สาม ของ โซซอน กษัตริย์ TAEJO OF JOSEON ได้ ย้ายเมืองหลวง มาตั้งที่เมือง ฮันยาง ซึ่ง ก็คือ กรุงโซล ในปัจจุบันนี้

อาณาจักร GORYEO บาง ท่านเรียก โคเรียว บางท่าน เรียก โคริออ บางท่านเรียก โครยอ

เมื่อ วันวิสาขบูชา คุณ ร้อยตะวันเขียนเรื่อง วันวิสาข ที่ประเทศกาหลี มีภาพน่ารัก ๆ ของหนูน้อย ที่แต่งตัว แบบหลวงจีนน่าเอ็นดู หลากหลายอารมณ์ของหลวงจีนน้อยหลายๆ คนมากเลย ขอตัดตอน ข้อความของคุณร้อยตะวันมาดังนี้
ประเทศเกาหลีจะมีเทศกาลงานบุญวันวิสาขบูชาเช่นเดียวกันกับบ้านเรา แต่บ้านเขานั้นเขานับวันเดือนทางจันทรคติต่างกับบ้านเรา… พูดง่ายๆก็คือถ้าเอาวันวิสาขบูชาของบ้านเราลบด้วย 7 ในปีนี้เทศกาลวันวิสาขบูชาของเกาหลีใต้จะอยู่ราววันที่ 2 พฤษภาคม ที่ผ่านมา แต่เขาจะจัดงานเฉลิมฉลองในช่วงก่อนจะถึงวันวิสาขาบูชาราวๆ 3 สัปดาห์ต่อเนื่องเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานบุญวันวิสาขบูชา




ไฮไลต์จริงๆ คือเทศกาลโคมบัว จะเริ่มก่อนวันวิสาขบูชา ราวๆ 1 สัปดาห์ก่อน เขาถือว่าบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ช่วงนั้นจึงมีทั้งเทศกาลจุดโคมประทีป นิทรรศการต่างๆ เกี่ยวกับพุทธศาสนา การสอนทำโคมบัว และมีวันแห่งการปิดถนนพระเดิน พิธีเปิดขบวนพาเหรดไล่เรียงกันไป

ในงานเทศกาลนี้ทางหน่วยงานราชการเกาหลีจะให้ความสำคัญกับเทศกาลไม่น้อย และ ทุกปีจะมีการประดับประดาโคมไฟดอกบัวทั่วกรุงโซลและจะมีมากที่สุดก็เห็นจะเป็นแถบๆ วัดพงอึนซาที่ใช้จัดงานพิธีต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะในช่วงนี้ใครที่นับถือศาสนาพุทธมหานิกายก็จะเข้าไปในวัด เข้าไปทำโคมดอกบัวไปแขวนถวายที่วัดถือเป็นพุทธบูชาค่ะ บางคนก็จะมารักษาศีลกินมังสวิรัติ คล้ายๆ บ้านเราเช่นกัน



ศาสนาพุทธ
ก่อน อาณาจักร Goryeo ในช่วงของ อาณาจักร ชิลลา นั้น เป็นที่กล่าวกันว่า ยุค ชิลลา รวม 3 อาณาจักร คือ โคคุเรียว ของกษัตริย์ จูมง และ ทัมด๊ก เพคเจ ของ กษัตริย์ มู ( ซอดองโย) รวม กับ ชิลลา นั้น ถือเป็น ยุคทอง ของ วัฒนธรรมเกาหลี โดยเฉพาะทางด้าน พุทธศิลป์

ศาสนา พุทธ เข้าไปในเกาหลี เมื่อ ราชวงศ์ โคคุเรียว ในสมัยพระปิตุลา ของ กษัตริย์ กวางแกโตมหาราช ใน ค.ศ. 372
Goguryo was the first Korean Kingdom to adopt Buddhism as a state religion in 372,under King Sosurim reign.

ที่แพคเจ ในรัชสมัยของ กษัตริย์ Chimnyu ( ค.ศ. 384-385) ขอลอกทั้งประโยคเลยว่า
Also in 384 .the Indian Buddhist monk Marananta came to Bakeje from Eastern Jin. King Chimnyu welcomed him into the palace,and shortly thereafter adopted Budddhism .In 385 he order that a Buddhist temple be built at the Bakeje capital of Hansan and ten people became monks..

สำหรับ ชิลลา เพราะไม่ค่อยสนใจ ชิลลา เลยไม่ทราบว่า ศาสนาพุทธ เข้ามา ชิลลา เมื่อไรน่ะค่ะ ฝากคุณ ร้อยตะวัน มาเสริมให้ทีหลังได้ไหมคะ

ในอาณาจักร GORYEO (ค.ศ 918-1392) ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีงานจิตรกรรมแบบพุทธ และศิลปวัตถุอื่นๆเกิดขึ้นมากมายในวัดต่างๆทั่วประเทศ มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชนชั้นปกครอง พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ และมีอิทธิพล ต่อระบบการเมืองการปกครองเป็นอย่างมาก



มีวัดแฮอินซา ตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติ คายาซาน สร้างขึ้นในปี ค.ศ 802 เก็บรักษาศิลปวัตถุจำนวนมาก ในอาคาร 90 อาคาร (ศาลเจ้าและกุฎิและอาคารย่อยต่างๆ ) เป็นที่เก็บรักษาแผ่นไม้แกะสลัก สำหรับพระไตรปิฎก ฉบับ เกาหลี จำนวน 8 หมื่นแผ่น เป็นการรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่สมบูรณ์ ที่สุด ของเอเชีย ตะวันออก แผ่นไม้เหล่านี้ทำขึ้นในปี ค.ศ 1251 เป็นการขอร้องให้พระพุทธเจ้าคุ้มครองประชาชนในช่วงที่ กองทัพมองโกเลียกำลังรุกรานประเทศ


Tripitaka Koreana Woodblocks


Haeinsa Temple Janggyeong Panjeon,
the Depositories for the Tripitaka Koreana Woodblocks


ในปี ค.ศ.1995 องค์การยูเนสโกได้จัดให้แผ่นไม้แกะสลักพระไตรปิฎก (Tripitaka Koreana Woodblocks) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า พระไตรปิฎกแห่งจางยองพันจอน (Tripitaka Koreana of Janggyeong Panjeon) เป็นหนึ่งในมรดกอันมีค่าของโลก

( วัด แฮ อึนซา จากหนังสือ เล่มนี้ กับ วัด พงอึนซา ของคุณ ร้อยตะวัน จะเป็น วัดเดียวกันไหมหนอ)

(ใน ค.ศ .802 มี อาณาจักร ชิลลา และ บัลแฮ)

ส่วนสมัยราชวงศ์โซซอน (ค.ศ.1392-1910) มีการยกย่องลัทธิขงจื้อกลายเป็นหลักปรัชญาในการบริหารประเทศ เป็นคติธรรมประจำชาติและสร้างสรรค์งานด้านวรรณศิลป์ บรรดา ปัญญาชนในสมัยโซซอนจึงผลิตงานศิลปะที่แสดงถึงอิทธิพลของลัทธิขงขื้อและศิลปะแบบจีน ในขณะเดียวกัน จิตรกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่สามัญชน กลับไม่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดใดความคิดหนึ่ง จึงมีการใช้เทคนิคการเขียนภาพที่เป็นอิสระ แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งใช้สีสันสดใสเพื่อสื่อถึงพลังอารมณ์และความรื่นเริง

Lee Seo Jin - Yi San (King Jeong Jo of Joseon

King Jeong Jo's Portrait

Yi San - Seong Yeon


เกาหลี มีละคร ที่สื่อ เรื่องศิลปะการวาดภาพ ของ สมัยโซซอน เรื่อง YI-SAN นั่นเอง จิตรกร สาว ที่ได้ เป็นพระสนมเอกของกษัตริย์ Jeongjo คือ พระสนม ซงยอน เคยไปศึกษา ศิลปะการวาดภาพที่ ประเทศจีนด้วย

เกาหลี และจีน ต้องรบกันตลอด สำหรับจีน ตั้งแต่ ราชวงศ์ ฮั่น (ก่อนกษัตริย์จูมง สถาปนา โคคุเรียว) ราชวงศ์ สุย ราชวงศ์ ถัง ( โคคุเรียว ล่มสลายในราชวงส์ถัง)

จนมาถึง GORYEO ต้อง รบกับ จีน ใน ราชวงศ์ หยวน ซึ่ง กุบไลข่าน หลานชาย ของ เจงกีสข่าน เข้ามาล้มล้างราชวงศ์ ช่ง และตั้งราชวงศ์หยวนขึ้น แต่ ราชวงศ์หยวน หรือ มองโกล ก็ ปกครองจีน ได้ประมาณ 90 ปี เท่านั้น ระหว่างราชวงศ์ถัง และ ราชวงศ์หยวน ยังมีราชวงศ์ ซ่ง และเหลียว แทรก ต่อจากราชวงศ์หยวน จะเป็น ราชวงศ์ หมิง และสุดท้าย คือ ราชวงศ์ ชิง ( แมนจู )

ในสมัยโซซอน ละคร ย้อนยุค หลายๆ เรื่อง จะกล่าวถึง ต้าหมิง
ชนชาติเกาหลีได้ถ่ายทอดความเป็นอัจฉริยะทาง ศิลปะ ผ่านทางดนตรี นาฎศิลป์ และจิตรกรรม ซึ่งมีการพัฒนามาตลอดเวลา



고려 도자기 / Goryeo's Pottery



รวมทั้งเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเกาหลีรับเอาศิลปะเครื่องปั้นดินเผา มาจากประเทศจีน ศิลปะแขนงนี่ได้เจริญรุ่งเรือง และปัจจุบัน ก็เป็นศิลปะที่ชาวเกาหลีภาคภูมิใจ เครื่องปั้นดินเผาแบบศิลาดลสีเขียวอมฟ้าที่มีความสวยงามอย่างลึกซึ้งของราชวงศ์ โคเรียว (โคริออ, โครยอ ) เป็นที่รู้จักกว้างขวางไปทั่วโลก เป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยม วัตถุโบราณ



백자 조선 / Joseon white porcelain



เช่นเดียวกับเครื่องกระเบื้องสีขาวจากราชวงศ์ โซซอน ศิลปะแขนงนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นในยุคสมัยต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ญี่ปุ่น รุกรานประเทศเกาหลีในช่วงปี 1950 และทำให้ศิลปะแขนงนี้เจริญรุ่งเรื่องที่ญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้




คงร้อง อ๋อ กันนะคะ ที่ ขวัญใจของพวกเรา เบ ยองจุน สนใจไปเรียน ศิลปะแล็คเกอร์ ที่ญี่ปุ่น และ
เบยงจุนได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิวายาม่า (เมืองโมริโอกะ อิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น)

เบ ยองจุน คงภาคภูมิใจกับ ความรุ่งเรืองในศิลปะด้านต่างๆ ที่ยืนยาวมาพร้อมกับ ประวัติศาสตร์อันยาวนาน หลายพันปี ของ ประเทศเกาหลี

ข้อมูล มาจากหนังสือ นี่คือเกาหลี เป็นหนังสือ สำหรับการท่องเที่ยวประเทศเกาหลี




Amornbyj@Copyright

No comments:

Post a Comment